Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

อีสาน Tag

ท่ามกลางกระแสดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตปัจจุบันของคนทั้งโลก ที่ประเทศไทย ที่อีสานก็เฉกเช่นกัน วิถีชีวิตของอีสานยุคใหม่ทำให้เยาวชนรุ่นนี้น้อยคนนักจะรู้จักความเป็นมาของเครื่องจักสานคุณค่าแห่งมรดกอีสาน..ภูมิปัญญาจากไม้ใผ่ ที่เปี่ยมไปด้วยประโยชน์ใช้สอยสารพัด จนชวนให้ฉงนว่า กว่าจะคิดค้นนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน ต้องย้ำคิด ย้ำทำ ลองผิดลองถูก จนกระทั่งแน่ใจว่าใช่เลยนั้น ผ่านการทดลองกี่ครั้งกัน ด้วยเล็งเห็นถึงการคิดค้น คิดสร้างสรรค์ ด้วยคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมที่สืบสานในวิถีชีวิตคนอีสานรุ่นก่อน โครงการ “รักษ์บ้านนอก” โดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงนำเสนอและเผยแพร่สุดยอดนวัตกรรมจากวิถีพื้นบ้าน ให้อนุชนรุ่นหลังได้ตระหนัก ซึมซับถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อสมัยก่อนคนอีสานใช้เวลาว่างจากทำไร่ทำนาสังคมชนบทอีสาน ผู้ชายและผู้หญิงจะแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบ “ยามว่างจากงานไร่นา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน”  “ข่อง” (“ข่อง”เป็นภาษาถิ่นอีสาน คือ “ข้อง”ในภาษากลาง) คือปัจจัยสำคัญของการยังชีพในยุคนั้น ข้อง

ข้างหน้าเป็นถนนที่เลือนหายไปกับสายน้ำ แปลก..! แม้เลือนหายไปจากสายตา นั่นกลับกลายเป็นความงดงามที่ตรึงอยู่ในใจ ตรึงตราอยู่ในใจเหมือนมิตรภาพที่มิเคยลืมเลือน ถนนมิตรภาพ เป็นชื่อเรียกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 จากสายสระบุรี ถึงหนองคาย หนึ่งในสี่ทางหลวงสายสำคัญของไทย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านงบประมาณ เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทย ที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟัลติกคอนกรีต (Asphaltic Concrete) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งชื่อถนนช่วงสระบุรี-ปากช่อง-นครราชสีมาว่า "ถนนสุดบรรทัด" ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย ตั้งชื่อว่า "ถนนเจนจบทิศ" 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เปลี่ยนชื่อเป็น “ถนนมิตรภาพ” เพื่อแสดงถึงมิตรภาพของประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาในการก่อสร้างถนนร่วมกัน โดยมีพิธีมอบถนนให้ประเทศไทย ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 นั่นคือถนนมิตรภาพสายเดิม [caption id="attachment_11138"