Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

เผยประชากรโลก 1 พันล้านคนมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  

การนอนกรน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มีการกรนบางแบบที่บอกถึงความผิดปกติของร่างกาย ดังนั้นนอกเหนือจากผลกระทบจากเสียงที่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อผู้ที่นอนใกล้กันแล้ว ยังหมายถึงอันตรายที่นำไปสู่โรคร้ายอีกหลายอย่าง

รายงานข่าวจาก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ระบุว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA)  มีการกล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากพบสถิติตัวเลขอุบัติการณ์ที่เป็นกันมากขึ้น  คือ มีตัวเลขประชากรเกือบ 20 % ที่อาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นนี้

รวมทั้งข้อมูลจากต่างประเทศพบว่า ประชากรทั้งโลกป่วยเป็นภาวะนี้ประมาณ  1 พันล้านคน หรือประมาณ 14 % ของประชากรทั้งโลก ซึ่งจำนวนผู้ป่วยที่เป็นมากขึ้นในปัจจุบันทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดประชุมกันต่อเนื่องทุกปี เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา และเสริมสร้างความรู้ให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนฤชา จิรกาลวสาน

รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนฤชา จิรกาลวสาน อายุรแพทย์ด้านระบบการใจและเวชบำบัดวิกฤตและด้านความผิดปกติจากการนอนหลับ ซึ่งขณะนี้เป็นผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงาน Pre-congress Workshop ในงานประชุมประจำปีของสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย ปี 2563 ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงพยาบาลศิริราช ว่า สาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA) ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากภาวะช่องคอแคบ ทำให้เวลานอนมีเสียงกรน บางคนมองเป็นเรื่องธรรมดา โดยที่ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวและอาจเกิดการหยุดหายใจได้ในขณะนอนหลับ บางคนมีอาการหลับ ๆ ตื่น ๆ บางคนมีอาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน มีอาการมึนศีรษะในตอนเช้า ไม่สดชื่น และมีง่วงนอนตลอดเวลา หากปล่อยทิ้งไว้จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพเพราะอาจจะเพิ่มโอกาสในการโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดสมอง และโรคอัลไซเมอร์  เป็นต้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA)  เป็นหนึ่งในโรคความผิดปกติจากการนอนหลับที่พบมากขึ้นในปัจจุบัน สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยซึ่งได้มีการประชุมกันต่อเนื่องทุกปีเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนไข้เพื่อทำการรักษา และเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ได้มาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับวิทยาการใหม่ ๆ ในการที่จะรักษาผู้ป่วย ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่พัฒนาเพิ่มขึ้น เช่น  เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP ที่ทันสมัยสามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจากอาการหยุดหายใจขณะหลับได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะทำการรักษาต้องวินิจฉัยตามลักษณะอาการของคนไข้ก่อน เพราะแต่ละคนอาจมีโรคความผิดปกติจากการนอนหลับที่ไม่เหมือนกัน โดยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มี “ศูนย์นิทราเวช” ซึ่งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคความผิดปกติจากการนอนหลับ รวมทั้งการตรวจการนอนหลับที่ทันสมัย เพื่อทำการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพื่อที่นำไปสู่การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

Post a comment

four + 4 =