Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

“วิถีศรัทธาอีสาน” สุนทรียศิลปะของชาวอีสาน

“วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน”นิทรรศการ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่าน พระไม้หรือพระพุทธรูปและฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)  ศิลปะนาอีฟ ของช่างแต้มอีสาน

รศ.ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการเล่าว่า แรงบันดาลใจในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปไม้ ในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์  อันสามารถสร้างเป็นต้นแบบนิทรรศการงานศิลปะของท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ศิลปะท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อันเป็นพันธกิจสำคัญของโครงการ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ

นิทรรศการเล่าผ่านพระไม้ และงานจิตรกรรมฮูปแต้ม ผสมผสานกับเทคนิด ดิจิลทัลแบบ immersive เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างโลกความจริงและเทคโนโลยี

“พระไม้” เป็นศาสนวัตถุที่ครั้งหนึ่งนิยมสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมอีสาน  และสะท้อนความเป็นมาของวิถีชีวิต ประเพณี ภูมิปัญญาตามคติความเชื่อในพุทธสาสนา แสดงถึงเอกลักษณ์ของคนอีสาน คติความเชื่อการสร้างพระพุทธรูปนั้นได้เผยแพร่ไปในดินแดนต่าง ๆ สังคมอีสานก็มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับดินแดนใกล้เคียง  และได้สร้างวัฒนธรรม ด้วยการผสมผสาน ความเชื่อทางศาสนากับ ความเป็นครูช่างทางหัตถศิลป์ชุมชนเข้าด้วยกัน และสร้างเป็นภูมิปัญญาขึ้นมาใหม่นั่น ก็คือพระพุทธรูปไม้ในรูปแบบอีสานพระไม้ในภาคอีสานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มช่างพื้นบ้าน  และกลุ่มอิทธิพลช่างหลวง

ฮูปแต้ม สุนทรียะแห่งศิลปะ การเล่าเรื่องจากศรัทธาของคนอีสาน

ฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน) ภาพจิตรกรรมเรียบง่ายที่ถูกถ่ายทอดจากศรัทธา  และภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องราวบนฮูปแต้ม บอกเล่าวิถีชีวิตประจำวันของชาวอีสาน เรื่องราวทางศาสนา ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมพื้นบ้านของภาคอีสาน

นิทรรศการในครั้งนี้ด้รับเกียรติจาก ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธี และ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

เปิดงานนิทรรศการ “วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน” ที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22– 27 มีนาคม 2565ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า “จากการที่ศิลปะทั้งสองแบบนี้เป็นอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่นในภาคอีสาน จึงถือเป็นมรดกทางภูมิปัญญาพื้นบ้านที่สำคัญ และสมควรได้รับการสนับสนุนเพื่ออนุรักษ์ไม่ให้เลือนหาย รวมถึงเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น จึงเกิดเป็นงานนิทรรศการ
“วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม และสืบทอดงานฝีมืออันล้ำค่านี้ไม่ให้เลือนหายไป อีกทั้งนิทรรศการดังกล่าวยังเป็นต้นแบบสำหรับนิทรรศการผลงานศิลปะท้องถิ่นที่จะนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติต่อไป”

นิทรรศการ “วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน” ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ของประเทศไทย โดยมีสถาบันพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติเป็นหนึ่งในสถาบันภายใน รับผิดชอบการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงและอนุรักษ์ศิลปวัตถุที่สำคัญตั้งแต่ศิลปะไทยประเพณี ศิลปะร่วมสมัย และศิลปะท้องถิ่น เป็นสถาบันที่ส่งเสริมศิลปะแนวใหม่และศิลปินรุ่นใหม่ให้เป็นที่รู้จักในระดับชาติและระดับโลก เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะแบบครบวงจรตั้งแต่วัยแบเบาะถึงวัยสูงอายุ และเป็นสถาบันที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อันนำไปสู่การสรรสร้างนวัตกรรมที่จับต้องได้จากองค์ความรู้ศาสตร์และศิลป์โดยนิทรรศการ “วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน” นอกจากการจัดแสดงเผยแพร่ความรู้ศิลปะการทำพระพุทธรูปไม้ หรือที่นิยมเรียกโดยย่อว่า “พระไม้” ที่เป็นศิลปวัตถุและงานช่างฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวัฒนธรรมอีสาน สะท้อนความเป็นมาของวิถีชีวิต ประเพณี ภูมิปัญญา และคติความเชื่อทางพุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ แสดงให้เห็นถึงฝีมือและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของช่าง เป็นชิ้นงานที่ผสานความศรัทธา ความมุมานะ เพื่อเป็นพุทธบูชาแก่ตน ในการสร้างวัตถุสำหรับสักการะให้แก่ผู้คนทั่วไปที่เลือนหายไปจากภาคอีสาน และการวาด“ฮูปแต้ม” หรือรูปแต้ม จิตรกรรมฝาผนังของวัฒนธรรมอีสาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเอกลักษณ์ ถ่ายทอดเรื่องราวทางพุทธศาสนา วรรณกรรมท้องถิ่นของอีสาน โดยเฉพาะ สินไซ อีกทั้งยังมี “ภาพกาก” หรือภาพจิตรกรรมแสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของชาวอีสาน โดย ผศ. ตนุพล เอนอ่อน แล้ว ยังมีการจัดเสวนาที่เกี่ยวข้องในหัวข้อ “ความเชื่อท้องถิ่น: การอนุรักษ์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาพูดคุยเพื่อสะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อท้องถิ่นสามารถนำมาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์การออกแบบหรือประยุกต์ใช้กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างชุมชนท้องถิ่นและประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้งานเสวนาในหัวข้อ “ความเชื่อท้องถิ่น: การอนุรักษ์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์” วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมให้ข้อมูลที่น่าสนใจ อาทิ “แนวทางการอนุรักษ์งานประติมากรรมพื้นบ้านในพิพิธภัณฑ์” โดย คุณเดเร็ก พูลเลน ที่ปรึกษาอิสระด้านการอนุรักษ์ประติมากรรม อดีตหัวหน้าแผนกการอนุรักษ์ประติมากรรม ประจำพิพิธภัณฑ์เททแกลเลอร์รี่ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร, “ความสัมพันธ์และความเกี่ยวข้องระหว่างพิพิธภัณฑ์กับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สมัยใหม่” โดย คุณแฮร์เรียต วอลเลส ผู้ก่อตั้งบริษัทวอลเลส-ซีเวลล์ บริษัทออกแบบและผลิตผ้าทอ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร, “การปฏิบัติการภัณฑารักษ์และการอนุรักษ์วัตถุที่เป็นมรดกแห่งชาติ” โดย คุณอเล็กซานดรา บอชส์ ภัณฑารักษ์มรดกแห่งชาติฝรั่งเศส, “แพลตฟอร์มดิจิทัลและฐานข้อมูลเพื่อการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์” โดย รศ.ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ หัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “ศิลปะพื้นบ้าน การออกแบบ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดย คุณโอลิเวอร์ หลิน รองประธานสถาบันวิจัยการออกแบบไต้หวัน ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล 

“การจัดนิทรรศการในครั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญในการแพร่ศิลปะท้องถิ่น อีกทั้งอนุรักษ์ศิลปวัตถุที่สำคัญเพื่อให้ศิลปะแขนงนี้ไม่เลือนหายไปจากความทรงจำของคนรุ่นใหม่ จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมชมงานฯ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าชมและรับฟังสัมมนาไม่มาก็น้อย” รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล กล่าวปิดท้าย

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ “วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน” ได้ในระหว่างวันที่ 22-27 มีนาคม2565 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Post a comment

one × three =