Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

สะพานเท่ๆ กระโจมเก๋ๆ “แกดำสไตล์”

บางครั้งเราก็ลืมไปว่า หน้าที่ของสะพาน ใช้ในการเชื่อมโยงของสองฝั่งเข้าด้วยกัน เพราะวันนี้มีสะพานชมวิวเกิดขึ้นมากมาย บ้างก็ข้ามไปอีกที่ บ้างก็ไม่ได้ข้ามไปไหน แต่ที่สะพานไม้แกดำ นอกจากสะพานจะเล่าเรื่องราวให้เราฟังแล้ว สะพานยังเชื่อมโยงเรื่องราวของอีกฝั่งออกมาอย่างมีสีสัน

สะพานไม้แกดำ ตั้งอยู่ที่วัดดาวดึงษ์ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม เป็นสะพานไม้เก่า อายุราวมากกว่า 50 ปี  ที่ชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ โดยเชื่อมระหว่างบ้านหัวขัวกับหมู่บ้านแกดำ

ทองอยู่ บุติมนตรี

จากคำบอกเล่าของ “ทองอยู่ บุติมนตรี” คุณครูวัยเกษียณ ตัวแทนของชมรมอนุรักษ์หนองแกดำ เล่าว่า เดิมทีราวปี 2502 สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นโดยคนในชุมชน เพื่อใช้ข้ามอ่างเก็บน้ำหนองแกดำ ให้ชาวบ้านได้สัญจรไปมา เด็กๆ ได้ใช้เส้นทางนี้ข้ามไปโรงเรียน โดยไม่ต้องอ้อมไปทางถนน

สะพานทอดยาว เล่าเรื่องราวในตัวเอง จากสภาพของไม้ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เรียงต่อกันด้วยฝีมือของคนในชุมชน สภาพไม่ได้เรียบร้อยเหมือนงานช่างที่เน้นความเป็นระเบียบ แต่บ่งบอกถึงที่มาของแต่ละสองมือที่ร่วมสร้าง ร่วมซ่อมแซมกันมาอย่างยาวนาน

ระยะทางของสะพานราว 400 เมตร จากบ้านแกดำหมู่ 1 บริเวณวัดดาวดึง ไปสู่บ้านหัวขัว ครูทองอยู่เล่าด้วยอารมณ์ขันว่า จำนวนชิ้นไม้ที่อยู่บนสะพาน ไม่เคยนับได้ตรงกัน แต่หากจะเอาจำนวนที่ครูนับได้ ก็น่าจะอยู่ที่ 1,757 ชิ้น ซึ่งหากใครจะไปนับอีกครั้ง ตัวเลขก็อาจจะเปลี่ยนไป เพราะบางทีก็มีการผุพังไปตามกาล เป็นเรื่องที่ครูและชาวบ้านต้องช่วยดูแลซ่อมแซมกันเสมอ

ตัวอ่างเก็บน้ำ มีพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแกดำ บ้านหัวขัว บ้านโพธิ์ศรี  เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อชาวอำเภอแกดำ  ปัจจุบันมีบัวกระจายอยู่เต็มพื้นที่ ชาวบ้านมีการเก็บบัวไปบูชาพระหรือนำไปปรุงอาหารบ้าง ในอ่างเก็บน้ำยังมีกุ้งหอยปูปลาอาศัยอยู่มาก ใครจะมาหาไปเป็นอาหารก็ไม่ว่ากัน ที่นี่ยังมีนกอาศัยอยู่ราว 10 ชนิด และจะมากขึ้นในช่วงหน้าหนาว

มองย้อนกลับไปเป็นวัดดาวดึงษ์

ครูบอกว่า ตอนนี้มีคนเข้ามาเที่ยวชมกันมากพอสมควร ช่วงเทศกาลต่างๆ ก็จะมีการจัดกิจกรรมขึ้นที่นี่ และมีไอเดียว่า น่าจะมองหากิจกรรมเสริมอย่างการปั่นจักรยานหรือการวิ่งรอบอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีระยะทางราว 6 กิโลเมตร เพื่อขยายการรับรู้และสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น

แม้ว่าวันนี้เราจะเข้ามาชมสะพานในช่วงที่แดดจ้า ก็ไม่เป็นอุปสรรคใดๆ ของสาวๆ ขอแชะ แต่ก็ต้องเตรียมอุปกรณ์กันแดดมาให้พร้อม หากใครที่อยากมาชมสะพานกันแบบชิลล์ๆ ก็ต้องช่วงเช้าๆ หรือยามเย็น น่าจะเหมาะกว่ามาก

วัดดางดึงษ์

มาเที่ยวบ้านแกดำแล้ว นอกจากบริเวณวัดดาวดึง และสะพานไม้ เรายังข้ามไปยังบ้านหัวขัวได้ ซึ่งจุดแรกที่ข้ามไปถึง เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหัวขัว ซึ่งจะมีการสาธิตงานด้านการเกษตร การแปรรูปอาหาร รวมทั้งของที่ระลึกของหมู่บ้าน

บ้านหัวขัว ตั้งชื่อตามที่ตั้งของหมู่บ้าน เนื่อง “ขัว” ในภาษาอีสาน แปลว่า “สะพาน” บ้านหัวขัว ก็คือบ้านหัวสะพานนั่นเอง  ชาวบ้านหัวขัวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงสัตว์และปลูกผักปลอดสารพิษ ผลิตข้าวอินทรีย์ ทำขนมไทยเป็นอาชีพเสริม

ฝั่งบ้านหัวขัว

เรามีนัดกินข้าวเที่ยงที่บ้านหัวขัว แต่ก่อนที่จะได้ลิ้มชิมรสอาหารพื้นถิ่นสไตล์มหาสารคาม เราและเพื่อนๆ ก็พากันเดินเล่นในหมู่บ้าน ชมทอเสื่อ  บางคนได้ร่วมลองลงมือทำด้วยตัวเอง จนรู้เลยว่า อาการหลังขดหลังแข็งเป็นอย่างไร

ได้เวลาอาหารเที่ยง วันนี้บรรดาแม่บ้านชาวหัวขัวลงมือปรุงอาหารด้วยตัวเอง พร้อมแต่งกายชุดพื้นบ้านอย่างเต็มยศ ดูสวยงามแปลกตา ด้วยสไตล์ที่ไม่เหมือนใคร มี “กระโจม” หรือ หมวกทรงแหลมประดับสีสันสดใสเป็นเอกลักษณ์ที่เก๋ไก๋ไม่เหมือนใคร และวันนี้เราก็ได้ชม “เซิ้งกระโจม” ซึ่งเป็นการร่ายรำพร้อมการขับบทเพลงอันเป็นเอกลักษณ์ บรรเลงจังหวะด้วยกลองรำมะนาเพียงชิ้นเดียว

เซิ้งขอฝน เป็นการละเล่นตามความเชื่อของคนบ้านหัวขัว เพื่อขอให้ตกตามฤดูกาล นิยมทำในเดือนหกของทุกปี (เดือนพฤษภาคม)  ภายใต้ชื่อ เซิ้งกระโจมหัวขัว หรือ “เซิ้งกระโจม” หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “จ่ายกาบเซิ้ง” เป็นการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา และวันนี้ได้ใช้เป็นการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว ผู้ขับร้องส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากเนื้อหาหลักเป็นการบอกเล่าวิถีชุมชนในอดีต

เกิดสะดุดตากับกระโจมสีสันสดใสใบหนึ่ง (จริงๆ ก็สดใสทุกใบ แต่ที่โดดเด่นในสายตาคือใบนี้) เลยปรี่เข้าไปถามคุณแม่  ท่านบอกว่า กระโจมเหล่านี้ เป็นงานฝีมือที่ชาวบ้านทำเอง แต่ใช่ว่าทุกคนจะมี ส่วนกระโจมของแม่ใบนี้ ตกทอดกันมามากกว่า 30 ปีแล้ว รายละเอียดจึงอาจจะแตกต่างจากกระโจมใหม่ๆ ที่ทำขึ้น

จะดูด้านไหนก็เพลิน

อยู่มุมไหนก็สะดุดตาไปหมด

เป็นช่วงเวลาที่เพลิดเพลินกับกระโจมหลากสีสัน อยากไปดูวิธีการทำ อยากเห็นของเก่าของเก็บของบ้านอื่นๆ บ้าง แต่ด้วยเวลาอันจำกัด จึงได้แค่พูดคุยกับบรรดาแม่ๆ ที่วันนี้ดูสวยสดใสในชุดพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ จากนั้นก็ได้เวลาอิ่มอร่อยกับมื้อเที่ยง ซึ่งวันนี้เรียงรายมาด้วยหลากหลายเมนู ที่ต้องมีคือ ส้มตำปลาร้า น้ำพริกผักสด ไข่เจียวมะเขือยาว ต้มยำปลานิล ตบท้ายด้วยของหวานเป็นกล้วยบวชชี

เป็นครั้งหนึ่งในความทรงจำ และเรียกการจดจำกลับมาอีกครั้ง สะพาน เชื่อมโยงสองฝั่ง เชื่อมโยงเรื่องราวที่น่าจดจำ ในจังหวัดที่แอบมีอะไรเก๋ๆ เท่ไม่เหมือนใคร อย่างนี้สิที่เรียกว่า เก๋ไก๋ได้จริงๆ 

ชุมชนบ้านหัวขัว หมู่ที่ 4 ต.แกดำ อ.แกดำ จ.มหาสารคาม

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแกดำ โทรศัพท์ 043787009

Post a comment

twelve + seven =