Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

meetthePRESS

ททท.ภูมิภาคภาคกลาง จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวทางรถยนต์ Road Trip รูปแบบประหยัดพลังงาน "คาราวาน C2 Connect Plus" ระหว่างวันที่ 23-26 ธันวาคม 65 เส้นทางกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี-กำแพงเพชร-เชียงใหม่-เชียงราย-พะเยา สร้างสีสันรับปีใหม่ ส่งต่อความสุขใจให้กับชุมชนสิ่งแวดล้อม กิจกรรมโครงการ Road Trip C2 Connect  เริ่มต้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 07.30 น. ที่บริเวณหน้าอาคารสำนักงานใหญ่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กรุงเทพฯ โดยมีนายกิตติพงษ์ ประพัฒน์ทอง ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง ททท. ประธานเปิดกิจกรรม ปล่อยขบวนคาราวานรถยนต์ท่องเที่ยว ร่วมกับนางสาวสุรีพร พงษ์พานิช ผู้อำนวยการกองตลาดภาคกลาง ททท. นายไมเคิล

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ร่วมกับ สถานทูตออสเตรียประจำประเทศไทยเปิดนิทรรศการ “Walls, Interrupted กำแพง ถูกขัดจังหวะ” ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านศิลปินชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียง เบียร์กิต กราชอปฟ์  (Birgit Graschopf) โดยผลงานนิทรรศการชุดนี้มีเนื้อหาที่เล่าถึงการทำงานของสถานที่แต่ละแห่งที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สำคัญทำให้หยุดชะงักไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ซึ่งศิลปินได้ใช้เวลาลงพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์กับคนและชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและกาญจนบุรี โดยได้ศึกษาสภาพของสถานที่ทั้งในด้านของโครงสร้าง บรรยากาศ ความว่างเปล่า ของสถานที่ พื้นที่สาธารณะที่ถูกทิ้งร้างและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ภายในประเทศ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ 2540 บวกกับการหยุดนิ่งของโลกจากเหตุการณ์ภายนอกประเทศช่วงระหว่างที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบทั่วโลกในช่วงระหว่างเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยนำเสนอผ่านภาพถ่ายที่สวยงามด้วยเทคนิคแบบอะนาล็อคแฮนด์เมดและอิมัลชันกราฟฟิค บนกระดาษธรรมดา กระดาษทราย และ กระดาษแข็ง รวมถึง มีการตัดเป็นแถบและประกอบเข้าไปใหม่ เพื่อการนำเสนอนิทรรศการชุดนี้ ออกมาให้เข้าใจและชัดเจนขึ้น นางสาวสุขุมาล ผดุงศิลป์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กล่าวถึง ความร่วมมือในครั้งนี้ว่า

CEA เร่งเครื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ชูกลยุทธ์ Soft Power ส่ง DNA ชาติไทย เฉิดฉายในตลาดโลก มุ่งสร้างเม็ดเงินเข้าประเทศ เดินหน้าพัฒนาพื้นที่และบุคลากร เพิ่มขีดความสามารถ เฟ้นหาตลาดเป้าหมาย สานพลังเชื่อมต่อโมเดล BCG ของรัฐบาล เผยอุตสาหกรรมคอนเทนต์ขึ้นแท่นดาวเด่น ด้านธุรกิจเกม-อีสปอร์ตยังสดใส พร้อมผนึกกำลังทุกภาคส่วนร่วมผลักดัน Soft Power ไทยหนุนแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน ดร.ชาคริต  พิชญางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA เปิดเผยว่า CEA ถือเป็นองค์กรหลักที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ทั้ง 15 สาขา โดยปัจจุบัน CEA ได้เร่งเดินหน้าการผลักดันยุทธศาสตร์ “Soft Power” หลังรัฐบาลประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศด้วย

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จับมือบริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำกลุ่มบริษัทพลังงานครบวงจรระดับภูมิภาค และบริษัท เทสท์อิงค์ เอเชีย จำกัด เดินหน้าในการผลักดัน Soft Power อาหารไทยในมิติแห่งความเป็นยา  จัดงาน “Thai Taste Therapy Challenge by Worldgas ครั้งที่ 2” พร้อมพัฒนาศักยภาพ และทักษะของบุคลากรควบคู่การเชิดชูมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สานต่อความสำเร็จจากการแข่งขันในปีแรก  ชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า “กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริม การพัฒนาและเผยแพร่ภูมิปัญญาวัฒนธรรมผ่านแรงขับเคลื่อน Soft Power เพื่อชูความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก ซึ่งอาหารไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของประเทศ ที่ประกอบด้วยรูป รส

ถ้าเอาน้ำพริกเป็นตัวกำหนดการเดินทาง เราคงได้ไปเที่ยวในชุมชนได้เป็น 100 แห่ง เพราะไม่ว่าจะเดินไปภาคไหนของเมืองไทย เราก็จะเจอกับเมนูพื้นบ้านอย่างน้ำพริก ต่างถิ่นก็ต่างสูตร เพราะอิงกับวัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นหลัก รวม ๆ แล้ว ทั่วเมืองไทย น่าจะมีสูตรน้ำพริกอยู่มากกว่า 100 ตำรับเลยก็ว่าได้ ล่าสุดมีแนวคิดใหม่ของการกินน้ำพริก จากแนวคิดสร้างสรรค์จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม  ภายใต้โครงการ “The journey of  น้ำพริกจากบ้านนาสู่มหานคร” ล่าสุดได้มีการจัดงานเปิดตัวเมนูอาหารที่สร้างสรรค์จากน้ำพริกสูตรเด็ดจากทั่วประเทศ ด้วยฝีมือเชฟร้านอาหารดังจำนวน 20 ร้านทั่วกรุงเทพฯ พร้อมแล้วให้นักชิมตามไปพิสูจน์ความอร่อย [caption id="attachment_28230" align="aligncenter" width="800"] แจ่วบอง ชุมชนคุณธรรมต้นแบบบ้านท่าเรือ จ. นครพนม[/caption] นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เปิดเผยว่า “น้ำพริกเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ตกทอดตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จุดเด่นไม่เพียงรสจัดถูกปากคนไทย แต่ยังปรุงง่าย และนำพืชพรรณธัญญาหารในท้องถิ่นมาปรุงร่วมด้วยไม่จำกัด ด้วยเหตุนี้ในแต่ละชุมชนจึงมีสูตรน้ำพริกเฉพาะของตัวเองสืบทอดตามบริบทของแต่ละพื้นที่

Airbnb เปิดตัว OMG! Fund เงินทุนสำหรับที่พักสุดว้าว! มูลค่า 10 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 353 ล้านบาท พร้อมมอบให้กับเจ้าของไอเดียที่พักแปลกใหม่ 100 คนทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ สถาปนิก นัก DIY และนักสร้างสรรค์ทั้งมืออาชีพและมือใหม่ เพื่อก่อร่างไอเดียที่พักเจ๋ง ๆ ให้เป็นจริง ในแบบต่าง ๆ อย่าง บ้านรองเท้าบูท บ้าน UFO หรือ บ้านมันฝรั่งยักษ์ ผู้ที่สนใจสามารถนำเสนอไอเดียที่พักสุดเจ๋งได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยเปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ถึง 23 กรกฎาคม 2565 เวลา 22:59 น. (เวลาประเทศไทย) สามารถส่งใบสมัครที่

งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น The Marché by STYLE Bangkok 2022 เมื่อ 18-22 พ.ค. ที่ผ่านมา ณ เซ็นทรัลเวิลด์ ปิดฉากอย่างสวยงาม ท่ามกลางรอยยิ้มผู้ประกอบการ SMEs จากทั่วประเทศ ที่ได้มีโอกาสโชว์ศักยภาพ เจรจาการค้ากับผู้ซื้อทั้งไทยและจากต่างประเทศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย หลังเผชิญวิกฤติโควิด-19 มากว่า 2 ปี ในขณะเดียวกันผู้ซื้อต่างพึงพอใจในสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นรักษ์โลกหรือ BCG ที่นำมาจัดแสดงสอดรับเมกะเทรนด์โลก The Marché by STYLE Bangkok 2022 จัดคู่ขนานระหว่างงานแสดงสินค้าและการเจรจาการค้าออนไลน์ สามารถสร้างมูลค่าซื้อขายภายในงานเกือบ 10 ล้านบาท จับคู่เจรจาระหว่าง ผู้ประกอบการไทยและผู้นำเข้าต่างประเทศ จากกว่า

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุแรกเกิด - 6 ปี ให้เลือกที่นั่งนิรภัย (คาร์ซีท) เพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็ก และเป็นการลดการบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนขณะโดยสารในรถยนต์ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ กล่าวว่า ประเทศไทยได้ประกาศ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่13) พ.ศ.2565 มาตราที่ 123 ระบุไว้ว่าคนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือนั่งในที่พิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ซึ่งจากระบบบูรณาการข้อมูลการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560-2564) พบว่ามีเด็กอายุแรกเกิด - 6 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 1,155 ราย ในจำนวนนี้มี

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จับมือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดโครงการ วังจันทร์วัลเลย์ เมืองนวัตกรรมอัจฉริยะของประเทศไทย เป็นที่ตั้งของ EECi Headquarters บนพื้นที่ 3,454 ไร่ ท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อผลักดันและพัฒนาผู้ประกอบการในประเทศไทย ให้เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจแห่งอนาคตและอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ New S-Curve เพื่อพัฒนา และขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น ตามนโยบาย Thailand 4.0 ปัจจุบันโครงการวังจันทร์วัลเลย์มีโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งถูกออกแบบตามมาตรฐานเมืองอัจฉริยะ Smart City  เพื่อรองรับกลุ่มนักลงทุนหรือผู้สนใจที่จะเข้ามาทำงานวิจัยและสร้างโรงงานต้นแบบ (Pilot Plant) นอกจากนี้

‘มิชลิน ไกด์’ และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมแถลงข่าวการขยายขอบเขตคัดสรรร้านอาหารเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือ “ภาคอีสาน” ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของไทยครอบคลุม 20 จังหวัด โดยคู่มือมิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นฉบับที่ 6 ของไทยและมีกำหนดเผยแพร่ปลายปี 2565 นี้ ได้เลือก นครราชสีมา, อุบลราชธานี, อุดรธานี และ ขอนแก่น เป็น 4 เมืองตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะสะท้อนอัตลักษณ์อาหารอีสานที่โดดเด่นและมีรสชาติจัดจ้าน ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่หลากหลาย อาหารอีสานมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรเขมรโบราณ รวมทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว เวียดนาม กัมพูชา และจีน  ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วยทุ่งหญ้าและผืนป่าบนที่ราบสูงและเทือกเขาซึ่งเหมาะกับการทำปศุสัตว์ นอกจากนี้ภาคอีสานยังเป็นแหล่งปลูกข้าวคุณภาพสูง ทั้งข้าวหอมมะลิที่โด่งดังไปทั่วโลกและข้าวเหนียว  อาหารอีสานส่วนใหญ่จะไม่ใช้อาหารทะเลเป็นวัตถุดิบเนื่องจากพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ไม่ติดกับทะเลหรือมหาสมุทร

“วิถีศรัทธาอีสาน : มรดกวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน”นิทรรศการ ที่บอกเล่าเรื่องราวผ่าน พระไม้หรือพระพุทธรูปและฮูปแต้ม (จิตรกรรมฝาผนังอีสาน)  ศิลปะนาอีฟ ของช่างแต้มอีสาน รศ.ดร. น้ำฝน ไล่สัตรูไกล ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการเล่าว่า แรงบันดาลใจในการจัดนิทรรศการในครั้งนี้เมื่อได้เห็นพระพุทธรูปไม้ ในศูนย์ศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น ภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์  อันสามารถสร้างเป็นต้นแบบนิทรรศการงานศิลปะของท้องถิ่น เพื่อเผยแพร่ศิลปะท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น อันเป็นพันธกิจสำคัญของโครงการ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ นิทรรศการเล่าผ่านพระไม้ และงานจิตรกรรมฮูปแต้ม ผสมผสานกับเทคนิด ดิจิลทัลแบบ immersive เพื่อสร้างความกลมกลืนระหว่างโลกความจริงและเทคโนโลยี “พระไม้” เป็นศาสนวัตถุที่ครั้งหนึ่งนิยมสร้างเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมอีสาน  และสะท้อนความเป็นมาของวิถีชีวิต ประเพณี ภูมิปัญญาตามคติความเชื่อในพุทธสาสนา แสดงถึงเอกลักษณ์ของคนอีสาน คติความเชื่อการสร้างพระพุทธรูปนั้นได้เผยแพร่ไปในดินแดนต่าง ๆ สังคมอีสานก็มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับดินแดนใกล้เคียง  และได้สร้างวัฒนธรรม ด้วยการผสมผสาน ความเชื่อทางศาสนากับ ความเป็นครูช่างทางหัตถศิลป์ชุมชนเข้าด้วยกัน และสร้างเป็นภูมิปัญญาขึ้นมาใหม่นั่น ก็คือพระพุทธรูปไม้ในรูปแบบอีสานพระไม้ในภาคอีสานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมกว่า 20 เท่า เราจึงมองไม่เห็นมัน และอาจจะไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาของมันมากนัก แต่เจ้าฝุ่นเจ้าปัญหาเหล่านี้ คือตัวการร้ายที่ทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หากย้อนมองไปถึงต้นตอของปัญหาฝุ่น PM 2.5 จะทราบว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่มาจากหลายภาคส่วน   การแก้ไขปัญหาว่ายากแล้ว การจะทำให้คนเข้าใจปัญหาก็ถือว่าเป็นเรื่องยากไม่แพ้กัน วันนี้จึงพบไอเดียการสื่อสารที่น่าสนใจ ด้วยการจับเรื่องของอาหาร มาสะท้อนปัญหาฝุ่น PM 2.5 ฟังแล้วน่าสนใจ ล่าสุด สสส. เปิดตัวแคมเปญออนไลน์ “AIR YOU CAN EAT” ยกระดับอาหารสู่การเป็นสื่อการเรียนรู้ ผ่านแอปฯ “Airvisible” ดึง เชฟชื่อดัง รังสรรค์ 4 เมนู สร้างประสบการณ์ร่วม-เข้าใจง่าย-สะท้อนสาเหตุการเกิดฝุ่นพิษ ปลุกคนไทยตื่นตัวสู้ฝุ่น PM 2.5 [caption

 “กากัน มาลิค” นักแสดงดังผู้รับบท เจ้าชายสิทธัตถะ ในเรื่อง Sri Siddhartha Gautama เผยความเคลื่อนไหวล่าสุด เตรียมบินมาประเทศไทยอีกครั้ง เพื่อเตรียมเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์   ศึกษาหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้อวัตรปฏิบัติของนักบวช และเรียนรู้วิถีสันติภายใน ณ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง ที่ตนเคยปวารณาตนเป็นศิษย์วัดไว้ กากัน มาลิค เผยความรู้สึกในช่องทางส่วนตัวว่า “การเล่นบทบาทของ เจ้าชายสิทธัตถะ ในเรื่อง  Sri Siddhartha Gautama เปลี่ยนชีวิตและทัศนคติของเขาอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้เกิดโครงการดี ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งเร็ว ๆ นี้จะมีอีกหลายโครงการและกิจกรรมสำหรับชาวพุทธในเมืองไทยและทั่วโลกกับชมรมไตรรัตนภูมิ โดยผมเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง ความสุขที่ได้รับจากการทำอะไรบางอย่าง “เพื่อเป็นการรับใช้เพื่อนมนุษย์" คือสิ่งที่กระตุ้นให้ผมใช้ชีวิตอย่างมีความหมายในทุกวันนี้” ก่อนหน้านี้ นักแสดงหนุ่ม ได้เดินทางมาเมืองไทย

ชุมชนบ่อสวกคว้ารางวัลรางวัล Upgrade Programme  จากการประกวดหมู่บ้านท่องเที่ยวยอดเยี่ยมโลก จาก UNWTO  เพิ่มโอกาสทางการตลาด และตอกย้ำความสำเร็จจากการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า  องค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาติ หรือ UNWTO ประกาศให้ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ได้รับรางวัล Upgrade Programme  ภายใต้การประกวดรางวัลหมู่บ้านท่องเที่ยวยอดเยี่ยม (Best Tourism Village) ประจำปี ค.ศ. 2021   ซึ่งการเข้าประกวดรางวัลครั้งนี้ เป็นการผลักดันจาก อพท. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งเป็นสมาชิกหลักของ UNWTO เนื่องจากชุมชนตำบลบ่อสวกเป็นหนึ่งในชุมชนต้นแบบที่ อพท.พัฒนาจากเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย (CBT

อพท. จับมือ 9 หน่วยงาน ผลิตเรือไฟฟ้าส่งมอบชุมชน “ตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวก” ลั่นกลองส่งเสริมต้นแบบการท่องเที่ยวไร้มลพิษ นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า อพท. มีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับพื้นที่และชุมชนให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ GSTC ในมิติการพัฒนาว่าด้วยเรื่องของการส่งเสริมผลประโยชน์และลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบวิถีคลองในพื้นที่คลองดำเนินสะดวกแห่งนี้ ได้ยึดหลักเกณฑ์ GSTC และเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย หรือ CBT Thailand  ประกอบกับการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนโยบาย BCG โมเดลของรัฐบาลที่ตอบเป้าหมาย Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน และ      ยังช่วยแก้ปัญหาความเดือดร้อนให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการท่องเที่ยว ผนึก 9 พันธมิตร พัฒนาเรือไฟฟ้ามอบชุมชน ล่าสุดได้ร่วมกับ

จากความสำเร็จของการศึกษาด้านพันธุกรรมมนุษย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ประกอบกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ “เทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่” ส่งผลให้เกิด “การแพทย์จีโนมิกส์” ที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัย และวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลได้อย่างเหมาะสมแม่นยำขึ้น “การแพทย์จีโนมิกส์” หรือ “การแพทย์แม่นยำ” เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วย โดยประยุกต์ใช้ข้อมูลด้านพันธุกรรม สภาพแวดล้อม และวิถีชีวิต ที่จำเพาะต่อผู้ป่วยแต่ละคนมาประกอบในการวินิจฉัย และเลือกการรักษาที่ตรงจุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย  ซึ่งปัจจุบันในหลายๆประเทศได้เริ่มต้นแล้ว กับการนำการแพทย์จีโนมิกส์ มาประยุกต์ใช้ เช่น รักษาโรคมะเร็ง โรคหายาก โรคติดเชื้ออย่างวัณโรค/HIV เภสัชพันธุศาสตร์ในการป้องกันการแพ้ยาเพื่อเลือกใช้ยาที่เหมาะสม ฉะนั้น ในอนาคตการแพทย์แม่นยำจะเข้ามามีบทบาทต่อสุขภาวะของประชากร ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เป็นทารก จนโตและเสียชีวิต บนเป้าหมายการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชากร สำหรับประเทศไทย ได้ก้าวมาสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 มีนาคม 2562 เห็นชอบ

ยูเนสโกประกาศ ‘เพชรบุรี’ ขึ้นแท่นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก ประจำปี 2564 อพท. เร่งจัดทำแผน 5 ปี ปูทางพัฒนาเมือง ยกระดับทรัพยากรที่โดดเด่นของเมืองและชุมชนสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานระดับสากล พร้อมเตรียมศึกษาประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ ระบุผลสำเร็จมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน   นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี  ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศให้เพชรบุรีเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร ประจำปี 2564  (City of Gastronomy) หรือ UNESCO Creative Cities Network - UCCN โดยเป็น 1 ใน 49

อพท. ปลื้ม  สุโขทัย น่าน ขึ้นสุดยอด 100 แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก  ตามด้วย 23 ชุมชน เข้ารับรางวัลกินรี จากการใช้เกณฑ์ GSTC  และ CBT Thailand  ตอกย้ำทุกชุมชนพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวคุณภาพหลังรัฐบาลประกาศเปิดประเทศ นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า  ผลดำเนินงานด้านการพัฒนายกระดับแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนในรอบปีงบประมาณ 2564 ทำให้เกิดกิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนจากการใช้องค์ความรู้ที่มีมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวที่ อพท. รับผิดชอบ ได้รับการยอมรับจากองค์กรทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างมากมาย และล่าสุดแหล่งท่องเที่ยวที่ อพท. เข้าไปพัฒนา ได้รับคัดเลือกเป็นสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แหล่งของโลก ปี 2021 ( Global

การเกิดขึ้นของตลาด NFT (Non-fungible Token) กำลังจะพลิกโฉมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั่วโลก และถือเป็นโอกาสใหม่ของนักสร้างสรรค์ไทยและอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในการก้าวสู่ “ตลาดศิลปะดิจิทัล” หรือ “ตลาด NFT” ด้วยการแปลงผลงานของตนเองให้เป็นรูปแบบดิจิทัล เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้จากการขาย NFT กับศิลปะในยุคดิจิทัล NFT คือ สินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่สามารถทำซ้ำหรือดัดแปลง ซึ่งจะบันทึกอยู่ในระบบบล็อกเชน (Blockchain) ที่มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบสิทธิ์ความเป็นเจ้าของได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง ดังนั้น นักสร้างสรรค์สามารถแปลงผลงานของตนเอง อาทิ งานศิลปะ เพลง ภาพยนตร์ ข้อความ วิดีโอ รูปภาพ หรือสินทรัพย์ทางกายภาพอื่น ๆ (Physical Asset) มาเป็นรูปแบบดิจิทัล พร้อมกับสร้างรายได้จากค่าลิขสิทธิ์ (Royalty Payments) จากการแปลงผลงานของตนเองเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อรักษาความเป็นต้นฉบับ สร้างสภาพคล่องให้กับผลงาน โดยช่วงไตรมาสแรกของปี 2564