Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

มูลนิธิสังคมสุขใจ Tag

สำหรับสายกรีนอาจจะรู้จักเลือกกินเลือกใช้สินค้าออร์แกนิก และอาจจะรู้จัก “ตลาดสุขใจ” ที่เปิดให้บริการทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ที่สวนสามพราน  ที่นั่นคือหนึ่งในเครือข่ายสังคมอินทรีย์ที่เข้มแข็ง เป็นต้นแบบที่ทำให้วันนี้มี “สังคมอินทรีย์”  ที่ขยายตัวในวงกว้าง แต่ “สังคมอินทรีย์” ไม่ได้มีแค่ผลิตผลทางการเกษตร โดยเฉพาะในวันนี้ที่โลกถามหาความยั่งยืน เพื่อก้าวสู่ Net Zero Emissions (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์)  และ Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอน) ซึ่งทุกกิจกรรมของมนุษย์ล้วนมีผลต่อความเปลี่ยนแปลง (ในทางที่ดีและร้าย) ของโลกใบนี้ ดังนั้น “สังคมอินทรีย์” จึงไม่ได้จำกัดเฉพาะ “เกษตรอินทรีย์” แต่รวมไปถึงทุกกิจกรรมของเรา ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึง ปลายน้ำ และนี่คือความตั้งใจ และเป็นอีกก้าวของ “งานสังคมสุขใจ” ที่ใช้เวลาผลักดันกันมาอย่างยาวนาน เพื่อโลกที่ดีทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่คำสวย

แม้ว่าทุกวันนี้ “สังคมเกษตรอินทรีย์” ในประเทศไทย จะขยายวงกว้างมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็น “ตลาดแมส” ทำให้สินค้าออร์แกนิค ยังคงจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้รักสุขภาพเท่านั้น เป็นเรื่องน่าเสียดาย เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม เราทำนาทำไร่ ปลูกผักผลไม้กินเองมาอย่างยาวนาน แถมยังเหลือเผื่อขายทั้งในและต่างประเทศ แต่ด้วยความจำเป็นทางด้านการตลาด หรือจะด้วยกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนของเกษตรอินทรีย์ ทำให้ทางเลือกของการใช้สารเคมียังคงเป็นไป ท่ามกลางความน่าฉงนว่า เราไม่ได้ปลูกสิ่งที่ควรกิน แล้วแต่ละวัน เรากำลังกินอะไรเข้าไป การจะทำให้สังคมเกษตรอินทรีย์ขยายตัวทั้งระบบ จึงต้องอาศัยทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ว่ากันตั้งแต่เกษตรกร คนกลาง และผู้บริโภค โดยเฉพาะปลายน้ำ หากมีเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ ต้นทางที่เป็นผู้ผลิต ก็จะขยายตัวได้โดยอัตโนมัติ จะเป็นอย่างไร หากผู้บริโภคส่วนใหญ่ เรียกร้องหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสังคม หลายปีที่ผ่านมา “สามพรานโมเดล” จากสวนสามพราน ได้ปูทางให้กับเครือข่ายเกษตรอินทรีย์มาได้ระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่ต้องลุยต่อนอกจากนี้ คือการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ การหาเครือข่ายเพื่อผนึกกำลังให้เข้มแข็งขึ้น รวมทั้งการขยายตลาดให้ซื้อง่ายขายคล่อง