Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

สมหวังที่วังยาง Tag

หลังจาก “แห้ว” มีชื่อเรียกใหม่ว่า “สมหวัง” ดูเหมือนว่าภาพรวมต่าง ๆ ก็ดูดีตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าแค่เปลี่ยนชื่อแล้วจะมีความเปลี่ยนแปลง เพราะแห้ว ก็ยังเป็นแห้ว เป็นพืชที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า มีประโยชน์มากแค่ไหน ทั้งตัวผู้กิน ผู้ปลูก และวันนี้แห้วก็เป็นหนึ่งในขบวนการกู้โลกไปแล้ว รู้จักแห้วสุพรรณ GI พื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งปลูกแห้วคุณภาพของที่ได้ชื่อว่า มีหัวโต เติบโตได้ดีในพื้นที่นา เต็มไปด้วยคุณประโยชน์ มีไฟเบอร์สูง และแร่ธาตุต่าง ๆ เพราะปลูกในแหล่งที่ได้ชื่อว่ามีดิน ฟ้า อากาศ ที่เหมาะสำหรับการปลูกแห้ว เพียง 1 เดียวในเมืองไทย จนทำให้ “แห้วสุพรรณ” ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “สมหวังที่วังยาง” เป็นชื่อที่ทำให้หลายคนได้รู้จักเรื่องราวของแห้วมากขึ้น ทั้งจากการส่งเสริมและพัฒนา “แห้ว” ให้

29 มิถุนายน 2565 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จัดงานแถลงข่าวประชาสัมพันธ์เปิดตัว 10 ชุมชน ที่ได้รับการคัดเลือกในโครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน ปี 4 เดินหน้าลงพื้นที่เพื่อสร้างชุมชนสร้างสรรค์ทั่วประเทศ ต่อยอดขับเคลื่อนรวมถึงบริหารจัดการชุมชน ผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนอย่างมั่นคงและยั่งยืน ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย กรรมการและโฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า โครงการสลากสรรค์สร้างเพื่อชุมชน เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดความเข็มแข็งและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ และเศรษฐกิจของชาติให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมอาชีพ ให้กับชุมชนสลากสรรค์สร้าง และขยายผลการสร้างรายได้ในระยะยาว ผ่านแนวคิดในการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชน และบริการชุมชนที่มีเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีสภาพแวดล้อม วิถีชีวิตที่เอื้อต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม สร้างรายได้ให้กับชุมชน และกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนให้มีความมั่นคงยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม