Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

อพท. Tag

อพท. จับมือ 5 สถาบันการศึกษา สานพลังพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หวังยกระดับการบริหารจัดการพื้นที่สู่เกณฑ์มาตรฐานสากล GSTC UCCN และ CBT Thailand ชูจุดขายวิถีชีวิตและวัฒนธรรม หนุนศักยภาพ เมืองเก่า-เกาะหมาก-ปากประ-ควนเคร็ง ขึ้นแท่นต้นแบบสายกรีน ส่วนสายมูชูเส้นทางเที่ยวชุมชนตามรอยหลวงพ่อทวด  ตั้งเป้าปี 2570 กระจายรายได้เพิ่ม 20% ในพื้นที่พิเศษ 3 จังหวัด  เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมกับ 5 สถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ท.ท.ช. ไฟเขียวประกาศ “ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ชูต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม เตรียมผลักดันแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) หวังดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพแตะ 8 ล้านคน โกยรายได้กว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ หรือ ท.ท.ช. เห็นชอบการประกาศพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “วิถีชีวิตแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน” ตามที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เสนอ ซึ่งจะครอบคลุม 15 อำเภอ ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา

อพท. พลิกโฉมสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่หลังโควิด-19 เปิดเวทีเสวนาขับเคลื่อนเทคโนโลยีสู่โลกเสมือนจริง ท่องเที่ยวในโลกอนาคตและจักรวาลนฤมิตร "Metaverse" หวังสร้างองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการเชื่อมโยงการทำงานของภาคการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ ดึงผู้ทรงคุณวุฒิแชร์แนวคิด ประสบการณ์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงโลกอนาคต ดึงรายได้สู่ชุมชน เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจในประเทศ นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดงานเสวนาหัวข้อ “Is the metaverse the answer of tourism? จักรวาลนฤมิตร มิตรแท้หรือแค่ลวง” ว่า เป็นกิจกรรมที่ อพท.จัดขึ้น ภายใต้กิจกรรมเวทีเครือข่ายองค์ความรู้เพื่อระดมข้อเสนอด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน และเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในการนำ Metaverse ที่เป็นเทคโนโลยีสร้างโลกเสมือนมาทำให้ผู้คนสามารถพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์ สัมผัสรูปภาพและเสียง ใน "ชุมชนโลกเสมือนจริง"

ยูเนสโกประกาศ ‘เพชรบุรี’ ขึ้นแท่นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์โลก ประจำปี 2564 อพท. เร่งจัดทำแผน 5 ปี ปูทางพัฒนาเมือง ยกระดับทรัพยากรที่โดดเด่นของเมืองและชุมชนสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานระดับสากล พร้อมเตรียมศึกษาประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ ระบุผลสำเร็จมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน   นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี  ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้ประกาศให้เพชรบุรีเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร ประจำปี 2564  (City of Gastronomy) หรือ UNESCO Creative Cities Network - UCCN โดยเป็น 1 ใน 49

อพท. ผุดแคมเปญ ส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์วิถีใหม่  “สุข โข ใจ ออนไลน์ ออนทัวร์” ประเดิมพาทัวร์ในรูปแบบเสมือนจริงผ่านช่องทางออนไลน์แล้ววันนี้ ไลฟ์สดผ่าน FB Live  YouTube Clip Video  หวังสร้างเป็นโครงการต้นแบบ ยกระดับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยว ตอกย้ำเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก                       นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19   อพท. ได้นำเทคโนโลยี มาพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ รองรับการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่ได้รับมอบจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ทุกหน่วยงานราชการนำนวัตกรรม หรือเทคโนโลยี มาปรับใช้เป็น เครื่องมือของการทำงาน

อพท. ผนึกภาคีเครือข่าย 6 องค์กร “ถอดบทเรียนการป้องกัน  Covid-19 จาก Phuket Sandbox  ดึงความสำเร็จสู่การต่อยอดในพื้นที่พิเศษและเมืองรอง สร้างโมเดลต้นแบบการจัดการภายใต้สภาวะวิกฤต สร้างจุดขายตอบไลฟ์สไตล์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่ปรับเปลี่ยน ก้าวสู่ยุคดิจิตัล ด้วยแอปพลิเคชั่น Tourism Digital Sandbox  เครื่องมือบริหารมาตรฐานความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวกลไกความเชื่อมั่นด้านบริการนักท่องเที่ยวและประชาชน นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า  ได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนาท่องเที่ยวยั่งยืน  และ ผู้เชี่ยวชาญ  6 องค์กร  ประกอบด้วย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเขตพื้นที่ภาคใต้ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินความยั่งยืนตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ เปิดเวทีสัมมนาขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวและบริการของไทย

อพท. ดันเชียงราย เพชรบุรีฝ่าด่านแรกฉลุย เดินหน้าเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าชิงเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโกปีนี้ ‘พิพัฒน์’ มองข้ามช็อต มอบ อพท. ทำโรดแมประยะ 5 ปี พัฒนาเชียงราย-เพชรบุรี รองรับการขึ้นแท่นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก ชูจุดเด่น “เชียงราย” เมืองแห่งการออกแบบ “เพชรบุรี” เมืองแห่งอาหาร พร้อมไปต่อลุยปั้นแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ ยกมาตรฐานสู่เกณฑ์เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ จากความสำเร็จในปี 2562 ที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. สามารถผลักดันจังหวัดสุโขทัยจนได้รับเลือกเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก มาวันนี้ 2 จังหวัด ที่ อพท. เข้าไปพัฒนาและผลักดัน คือ จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดเพชรบุรี ยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าชิงสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ยูเนสโก ประจำปี

นับถอยหลังรัฐบาลจะเปิดประเทศ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆกำลังจะทยอยเปิดเมือง แล้วการท่องเที่ยวของประเทศไทยก็จะกลับมาคึกคักเหมือนเดิม หลังจากที่ถูกคุกคามจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มานานกว่า 1 ปี ในมุมของคนทำงานด้านการท่องเที่ยว ได้ใช้ช่วงเวลาเป็นโอกาสในการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวได้มีทางเลือกที่จะเที่ยวและพำนักได้นานวันขึ้น เพื่อให้เกิดการจับจ่ายและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. หน่วยงานที่ดำเนินการด้านซัพพลายไซต์ ก็ได้ใช้ช่วงเวลาที่ชุมชนหยุดหรือชะลอการต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา ดำเนินการยกระดับและพัฒนากิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ไว้เตรียมรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน อย่างที่จังหวัดสุโขทัย เมืองมรดกโลกที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และล่าสุดยังได้รับการคัดเลือกเข้าสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก อพท. พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร จึงเกิดแนวความคิดพัฒนาให้เกิดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวบนฐานทุนทางวิถีชีวิต เกิดเป็นเส้นทางริเวอร์อาร์ต (River Art) และสตรีทอาร์ต (Street Art) รวม 6 แห่ง ภายใต้แนวความคิด Creative city ตอกย้ำความเป็นเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก้ ให้นักท่องเที่ยวได้แวะเวียนเข้าไปชื่นชมกับภาพเขียนสี ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตในอดีตของชุมชนต่างๆ โดยหลายภาพผู้วาดได้ถอดออกมาจากภาพถ่ายจริงในอดีต ริเวอร์อาร์ต

เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ไทย หนุนตั้ง “เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของประเทศไทย” (Thailand Creative Cities Network  หรือ TCCN) ชู อพท. พี่เลี้ยงดันหลังเมืองที่ประสงค์เข้าสู่การเป็นเครือข่าย UCCN  ประเดินจัดเสวนาครั้งแรก เปิดเวทีระดมความคิด สร้างความรู้ความเข้าใจประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ และเกณฑ์ของยูเนสโก  เป้าหมายขยายเส้นทางท่องเที่ยวเมืองสร้างสรรค์แห่งใหม่ มุ่งกระจายรายได้ท่องเที่ยว  สร้างเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์โรดแมปชาติ 20 ปี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่รัฐบาลมุ่งเน้นให้เกิดการต่อยอดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่านการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค เพื่อเพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ได้กำหนดเป้าหมายทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต โดยมุ่งพลิกโฉมประเทศไทยให้ก้าวไปสู่การเป็นประเทศที่มี

อพท. เตรียมพร้อมประกาศ “บางกะเจ้า” เป็นพื้นที่พิเศษฯ  เดินหน้าสร้างการรับรู้ภาคีเครือข่ายลุย 2 โครงการ ศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และโครงการยกระดับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่สากล  คาดเร็วสุดสิ้นปีนี้เสนอ ครม. นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า จากศักยภาพของพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า และชื่อเสียงในด้านการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สมบูรณ์ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์  อีกทั้งยังเป็นพื้นที่อยู่ติดกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงและเป็นอีกหนึ่งมหานครท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของโลก รัฐบาลจึงมีแนวความคิดที่จะรักษาความสมบูรณ์ดังกล่าวไว้เป็นสมบัติทางการท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยที่ผู้อยู่อาศัย ชุมชน และทุกหน่วยงานในพื้นที่ต้องได้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่ต้น และต้องได้รับการดูแล ยกระดับคุณภาพชีวิตไปพร้อมกับการยกระดับมาตรฐานให้พื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน อพท. จึงดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามหลักเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และเข้าใจถึงแล้วทางการทำงานการประกาศพื้นที่พิเศษในครั้งนี้ของ อพท. และเข้าร่วมกับ อพท. ดำเนินภารกิจครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งผลที่เกิดจากการการประกาศพื้นที่พิเศษ เป้าหมายสำคัญคือในพื้นที่เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่สร้างผลประโยชน์สูงสุดและเกิดผลกระทบเชิงลบน้อยที่สุดต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ประชาชนที่อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้ใช้ประโยชน์และคุณค่าจากฐานทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มี

อพท. เปิดตัวโครงการ #คิดถึงชุมชน ผนึกพันธมิตรตลอดห่วงโซ่ซัพพลายเชนช่วยเหลือชุมชนท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยว หลังพ้นโควิด-19  นำเสนอชุมชนท่องเที่ยวในช่องทางการขายผ่านบริษัทนำเที่ยวภายใต้สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 8 สมาคมท่องเที่ยว ทั้ง ททท. สสปน. และเคทีซี ร่วมสนับสนุนช่องทางการตลาดเป้าหมายกลุ่มลูกค้าคุณภาพ คาดเงินสะพัดกว่า 50 ล้านบาท เผยเป็นโครงการนำร่องของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้ระบบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ อพท. ได้รับมอบนโยบายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้หน่วยงานในความรับผิดชอบ เร่งพัฒนาโครงการที่จะเข้ามาเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้งบประมาณประจำปีที่ได้รับจัดสรร  อพท. จึงได้เปิดตัวโครงการ #คิดถึงชุมชน เพื่อช่วยเหลือชุมชนท่องเที่ยวผ่านการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว โครงการ #คิดถึงชุมชน แบ่งเป็น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาการ ประกาศส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ด้วยการขยายตลาดด้วยการเชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทำงานและพำนักอยู่ในประเทศไทย (Expats) ออกมาท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด  เริ่มต้นแห่งแรกที่ปอดของกรุงเทพฯ อย่าง “คุ้งบางกะเจ้า” จากความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวในคุ้งบางกะเจ้า ที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้พัฒนาไว้อย่างสมบูรณ์ เมื่อ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีแนวความคิดที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มเอ็กซ์แพท (Expats) ให้เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อกระจายเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ชุมชนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว “บางกะเจ้า” จึงตอบโจทย์แนวความคิดดังกล่าว เพราะด้วยทำเลที่ติดขอบกรุงเทพมหานคร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วิถีชีวิต ซึ่งเป็นแนวที่ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติชื่นชอบ วันนี้คุ้งบางกะเจ้า มีเส้นทางให้นักท่องเที่ยวได้แวะเวียนไปเที่ยวชมถึง 6 เส้นทางจาก 6 ตำบล ได้แก่ เส้นทางวิถีมอญ ที่ตำบลทรงคนอง หรือจะเป็นครัวของคุ้งน้ำอย่างที่ตำบลบางยอ ซึ่งมีอนุรักษ์การทำตาลและเตาตาลแห่งสุดท้ายในคุ้งบางกะเจ้า  เส้นทางปั่นจักรยานตำบลบางกะเจ้า  เส้นทางเที่ยวชมวิถีคลองแพที่ตำบลบางกอบัว  หรือจะเลือกซื้อของกินของใช้จากผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ตลาดน้ำตำบลบางน้ำผึ้ง