Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ประชันไอเดีย TravelTech ความท้าทายในโอกาสของการท่องเที่ยวไทย

มีประเด็นที่น่าขบคิดว่า ประเทศไทยเรามีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว ในขณะที่เรารู้สึกว่า TravelTech มีผลอย่างมากต่อการเติบโตของการท่องเที่ยว แต่ธุรกิจ TravelTech ในเมืองไทย ยังมีสัดส่วนแค่ 0.3% ของโลก ซึ่งมีจำนวนของธุรกิจ TravelTech อยู่ประมาณ 2,039 ราย นั่นหมายความว่า ธุรกิจ TravelTech ที่มีบทบาทกับการท่องเที่ยวไทย ยังเป็นของต่างชาติ

นี่คือปัจจัยสนับสนุนหลักของการเติบโตของ travel tech startup ในยุคที่โลกดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนผันรูปแบบการทำธุรกิจ จึงทำให้เกิดโครงการที่น่าสนใจขึ้น นั่นคือโครงการ HackaTravel เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ออกมาประชันเดียเจ๋งๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมด้านการท่องเที่ยว

โดยล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA  ร่วมกับ เทคมีทัวร์ (TakeMeTour)  ในฐานะ TravelTech ที่พัฒนา Platform เว็บไซต์ในการบริการจองทริปส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและขยายไปในประเทศต่างๆ ในอาเซียน  จัดงาน Create a New Era of Tourism in Thailand  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย   ด้วยกิจกรรมการแข่งขันพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลในรูปแบบ Hackathon ที่กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก ภายใต้ชื่อโครงการ HackaTravel

ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่คิดธุรกิจนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการท่องเที่ยว และเข้ามาประชันไอเดียเจ๋งๆ ที่สามารถนำไปตั้งต้นพัฒนาเป็นนวัตกรรม/ธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์จริงๆ ได้  ชิงรางวัลสูงสุดกว่า 300,000 บาท  พร้อมรับโอกาสดีๆ ในการสนับสนุนต่อยอดธุรกิจจากพันธมิตรต่างๆ ของโครงการ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank), บริษัท สิริ เวนเจอร์ส จำกัด (แสนสิริ) และ บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน)

โดยมี ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  กล่าวแสดงปาฐกถาเปิดงานในหัวข้อ “นวัตกรรมการท่องเที่ยว : โจทย์เก่าที่ต้องเล่าใหม่” โดยได้กล่าวถึงโอกาสและความท้าทายของธุรกิจ TravelTech ที่จูงใจให้นักลงทุนต่างประเทศหันมาพัฒนาธุรกิจในประเทศไทยมากขึ้น โดยอ้างอิงจากการจัดอันดับของ WorldAtlast.com ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นอันดับ 4 และมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเป็นอันดับ 10 ของโลก ซึ่งเชื่อว่าศักยภาพการท่องเที่ยวของไทยจะทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเติบโตไปอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ผู้ว่า ททท. แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ รู้จัก เข้าใจ และ ดูแล โดยต้องทำให้นวัตกรรมเป็นที่รู้จักต่อกลุ่มเป้ามาย มีความเข้าใจนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่ม อาทิ Gen Y ที่ชอบเที่ยว ชอบแสดงออก กลุ่มครอบครัว ที่ต้องการความสะดวกสบาย หรือ กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการความปลอดภัยสูง

“ในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทย 38.3 ล้านคน แต่สิ่งที่เป็นความท้าทายคือ เรารู้แค่ว่าเขามาจากไหน แต่ไม่รู้ว่าเขาเป็นใคร จะไปที่ไหน ดังนั้นนวัตกรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำตลาดพร้อมการดูแลนักท่องเที่ยวได้อย่างตรงจุดโดย ททท. เชื่อมั่นในศักยภาพของคนรุ่นใหม่ของไทยว่าในอนาคตจะสามารถเติบโตเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง ไม่แพ้ชาติใดในโลก” ผู้ว่าททท. กล่าว

ด้าน ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  กล่าวว่า ในปัจจุบันทาง NIA มีโครงการต่างๆในการสนับสนุน Startup ด้าน Travel tech คือ โครงการ IDE to IPO รุ่นที่ 3 ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรม การพัฒนาธุรกิจการจัดการนวัตกรรมด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว การให้ทุนสนับสนุนด้านนวัตกรรมการท่องเที่ยว และการจัดทำ Accelerator ด้าน Travel Tech ที่อยู่ในแผนการดำเนินการปีหน้า

“การส่งเสริมคนรุ่นใหม่หรือการสร้างทรายเม็ดใหม่จากรั้วมหาวิทยาลัย ในโครงการ Startup Thailand League และจากกิจกรรม Hackatravel  ครั้งนี้ ก็จะเป็นการสร้าง Startup ด้าน Travel Tech ใหม่ๆให้แก่ประเทศไทย เพื่อเป็นนักรบทางเศรษฐกิจรุ่นใหม่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป” รองผอ.กล่าว

นายจีระวัฒน์ กุลทรัพย์อุดม Head of Ecosystem บริษัท สิริ เวนเจอร์ส จำกัด (SIRI VENTURES) หนึ่งในผู้สนับสนุนหลักโครงการ HackaTravel กล่าวว่า “แสนสิริ ในฐานะผู้นำของอสังหาริมทรัพย์ไทย ที่ให้ความสำคัญกับการส่งมอบไลฟ์ไตล์การใช้ชีวิต เราเล็งเห็นถึงแนวโน้มธุรกิจการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเดินหน้ารุกธุรกิจโรงแรมและแอปพลิเคชั่นด้านการท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ โรงแรมเอสเคป หัวหินและเขาใหญ่  เครือโรงแรมเดอะสแตนดาร์ด (Standard Hotels) แบรนด์โรงแรมระดับโลกที่เตรียมเปิดสาขาใหม่รวมเป็น 20 สาขาทั่วโลก และ One Night แอปพลิเคชั่นสำหรับการจองโรงแรมในวันเดียวกับการเข้าพัก ดังนั้น การสนับสนุนในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดี ที่แสนสิริได้มีส่วนร่วมในการเปิดเวทีให้กับคนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถในการคิดค้นนวัตกรรมที่นำมาใช้ได้จริง เพื่อยกระดับธุรกิจการท่องเที่ยวไทยในยุคดิจิทัล รวมทั้งนำโซลูชั่นด้าน Smart Data มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้าน Hospitality ของแสนสิริได้อย่างเต็มศักยภาพ”

ด้านนายนพพล อนุกูลวิทยา และ นายอมรเชษฐ์ จินดาอภิรักษ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเทคมีทัวร์ ในฐานะผู้จัดงาน Create a New Era of Tourism in Thailand  และโครงการ HackaTravel กล่าวว่า  ปัจจุบันทิศทางของอุตสาหกรรมต่างๆ ของโลกได้ถูกเปลี่ยนแปลงตั้งแต่โฉมหน้า รูปแบบ ผู้เล่น ไปจนถึงโครงสร้างของอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลจากการเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ การ Digitalization ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง  จึงทำเกิดธุรกิจใหม่ๆ ขณะที่ธุรกิจบางอย่างล้มหายไป และอีกจำนวนมากต้องเร่งปรับตัว อุตสาหกรรมท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย ก็เช่นเดียวกันที่กำลังพบกับความท้าทายครั้งใหญ่นี้

“โครงการ HackaTravel  มีจำนวนผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 268 คน ประกอบด้วยนิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาด้าน software developer และบุคคลทั่วไปที่ทำงานเป็นนักพัฒนาหรือ developer  เป็นส่วนใหญ่  หลังจากปิดรับสมัครทางโครงการฯ ได้มีการคัดเลือกรอบแรก โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 90 คน โดยคัดเลือกจากความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีเป็น software developer เป็นนักการตลาดออนไลน์ที่มีความสามารถทางธุรกิจหรือผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ  ซึ่งการคัดเลือกทางกรรมการดูจากส่วนผสมของผู้ที่เข้าร่วมโดยให้มีนักพัฒนากับผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจการท่องเที่ยวอยู่ในอัตราส่วนที่สามารถแข่งขัน Hackathon ได้ ด้วยเป้าหมายของโครงการที่ต้องการสนับสนุนให้เกิดไอเดียนวัตกรรมการท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่สามารถ “ทำได้จริง” จึงต้องการคัดผู้เข้าร่วมให้มีความหลากหลายทางทักษะและมีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวให้มารวมกัน

สำหรับการแข่งขัน Hackathon จะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 2 วันเต็ม คือในวันที่ 27-28 เมษายน 2562  ณ ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) การแข่งขันจะแบ่งทีม ทีมละ 3-6 คน  โดยภายในกิจกรรม Hackathon จะมีช่วงพิเศษ ให้ผู้ที่สมัครเข้ามาแบบทีมแล้ว สามารถเปลี่ยนใจแยกทีมได้เช่นกันซึ่งเป็นสีสันของการแข่ง เพราะในโลกของความเป็นจริงก็มีโอกาสที่ทีมจะแตกได้เช่นกัน

การแข่งขันได้กำหนดโจทย์ไว้ 4 เรื่อง ดังนี้ 1. Emerging Destination Tourismการท่องเที่ยวเมืองรอง 2. Tools For Tourism Businessเครื่องมือทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยว 3. Enabling Seamless Travel Experienceเครื่องมืออำนวยความสะดวกในด้านการท่องเที่ยว 4. Smart Data การเก็บและประยุกต์การใช้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว โดยแต่ละทีมสามารถเลือกโจทย์ได้ตามความถนัดของตัวเอง

“ในการแข่งขันโครงการ HackaTravel ครั้งนี้ นอกจากผู้เข้าแข่งขันจะได้รับความรู้และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเทคโนโลยีและแวดวงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งสองวัน ยังมีเงินรางวัลมูลค่าสูงสุด 300,000 บาทมอบให้กับผู้ชนะการแข่งขันจำนวน 3 รางวัลดังนี้ ทีมชนะเลิศรับรางวัลมูลค่า 150,000 บาท ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 รับรางวัลมูลค่า 100,000 บาท และทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 รับรางวัลมูลค่า 50,000 บาท นอกจากผู้ชนะการแข่งขันยังจะได้รับโอกาสดีๆ ในการสนับสนุนพัฒนาต่อยอดให้เป็นธุรกิจจากพันธมิตรต่างๆ ของโครงการอีกด้วย” ผู้จัดงานกล่าว

Post a comment

3 − one =