Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

โคกหนองนาโมเดล Tag

นอกจาก “นาปรัง” และ “นาปี” ที่บ่งบอกฤดูกาลและลักษณะของการปลูกข้าวแล้ว หลายคนแทบไม่รู้จัก และอาจจะไม่เคยได้ยินเรื่องของการทำ “นาขาวัง” มาก่อน แต่หากใครที่เคยรู้เคยเห็นว่า บนเกาะกลางทะเล หรือ พื้นที่ติดทะเล ก็สามารถทำนาได้ เรื่องของ “นาขาวัง” ก็อาจจะอยู่ในทำนองที่คล้ายคลึงกัน เพราะการทำ “นาขาวัง” เป็นรูปแบบการทำนาในระบบนิเวศ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เรียนรู้กลไกธรรมชาติของน้ำขึ้น น้ำลง เมื่อถึงหน้าฝนมีน้ำมีท่าก็ทำนาตามปกติ  ส่วนในฤดูแล้งก็จะปล่อยน้ำเค็มให้ไหลเข้ามาในนาเพื่อเลี้ยงกุ้ง หอย ปู ปลา ส่วนคำว่า “ขาวัง” คือ ลุ่มน้ำบางปะกง  เป็นภูมิปัญญาในการจัดการน้ำของชาวนา สำหรับการทำนาขาวัง อาจจะไม่รู้จักกันเป็นที่แพร่หลายมากนัก เพราะปัจจุบันเหลือพื้นที่ทำนาขาวังเพียงแค่ที่ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

“คนชัยภูมิต้องมีเมียเป็นของตัวเอง ไม่ต้องไปแย่งกับใคร” คำเปรียบเปรยที่แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตัวเอง ซึ่ง “อ.ยักษ์-ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร” นายกสมาคมดินโลก และที่ปรึกษามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ได้เล่าให้ฟัง ในโอกาสที่ได้ร่วมลงพื้นที่กิจกรรม “เอามื้อสามัคคี”  โครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปีที่ 8  ณ ศูนย์ปราชญ์ศาสตร์พอเพียง บอกเล่าก้าวตาม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ “คำว่า ชัยภูมิ ก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นพื้นที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในทุกมิติ” อาจารย์ยักษ์ย้ำ เพราะจังหวัดชัยภูมิ มีป่าต้นน้ำอยู่กว่า 7 ล้านไร่ เป็นป่าต้นน้ำซึ่งถือเป็น “ธนาคารน้ำของภาคอีสาน” ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สู่ อ.วารินชำราบ ซึ่งชื่อก็บอกแล้วว่า “วาริน” หมายถึง “น้ำ” “ชำราบ” หมายถึง