Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

โควิด 19 Tag

จากการประมาณการว่า ปี 2564  นี้ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย หรือ Aging Society โดยสมบูรณ์ ซึ่งถ้าเป็นก่อนหน้าที่จะมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้ามาสั่นคลอนวิถีชีวิตของคนไปทั่วโลก หากมีคนบอกเราว่า โลกของเรากำลังเต็มไปด้วย “ผู้สูงอายุ” ฟังครั้งแรกคงจะรู้สึกหดหู่   แต่ในความเป็นจริง คนที่อยู่ข้าง ๆ เรา ก็เต็มไปด้วยผู้สูงอายุ และเราก็ไม่เคยรู้สึกหดหู่เลย ในทางกลับกันหลายครอบครัว ผู้สูงอายุเป็นเสมือนศูนย์รวมจิตใจของสมาชิกในครอบครัว การเตรียมรับสถานการณ์ที่เราจะมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาและเตรียมมาตรการอะไรหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นในสังคมเพื่อเตรียมรองรับ บ้านไหนที่มีผู้สูงอายุ ก็เริ่มมองหาวิธีการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยภายใน ให้ปลอดภัยและสะดวกสบาย เหมาะสมต่อสภาพการใช้งาน และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะปัญหาการลื่นล้มซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยครั้ง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจำนวนไม่น้อย นับเป็นประเด็นสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจ เพราะทุกพื้นที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะการปรับปรุง พื้น หรือพื้นบ้านให้ผู้สูงวัย แอลที

ในช่วงเวลาที่ทุกคนต้องช่วยเหลือกัน ไม่ว่าจะสะดวกพร้อมด้านใด ก็มีส่วนในการช่วยเหลือสังคมได้ นอกจากหน่วยงาน มูลนิธิ หรือจิตอาสาที่ออกมาช่วยกันแบ่งเบาสถานการณ์ที่ยากลำบากในช่วงโควิด-19 แล้ว ที่พึ่งทางใจของชาวพุทธยังออกมาเป็นส่วนหนึ่งในการการต่อสู้วิกฤตในครั้งนี้ ภายใต้การทำงานของ ‘Temple Isolation’   พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้จัดการโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีสถิติผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 ล้นโรงพยาบาล ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา จึงได้ปรับโครงการโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่าย มาช่วยแก้ไขวิกฤตโควิด-19 ในกรุงเทพฯ โดยดำเนินการปรับศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม อาคารขนาด 3 ชั้นของวัดสุทธิวราราม จัดตั้งเป็นศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19  สำหรับดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ

นับเป็นภาระที่หนักอึ้ง ในการบริหารธุรกิจท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง  อีกทั้งความเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้น ยังตกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกได้ว่า “กลับไปกลับมา” จนแทบจะตั้งรับกันไม่ทัน เพราะสถานการณ์ของโรคระบาดอย่าง “โควิด 19” เป็นเรื่องใหญ่ที่ใครๆ ก็ต้องยอมหลีกทางให้ ทำได้เพียงประคับประคอง และมองหาโอกาสที่พอมี แม้จะรู้ในใจดีว่า “ยากเย็น” เหลือเกิน ธุรกิจสุขภาพและความงาม ที่เคยรุ่งโรจน์เป็นดาวเด่น เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์โควิด 19  “สปา” หลายแห่งในประเทศไทย ทั้งรายเล็กรายใหญ่ จำต้องแพ้พ่ายให้กับศึกใหญ่ในครานี้ แต่ก็ยังมี “เซอร์ไวเวอร์” ที่ยังกัดฟันสู้ แม้สภาพจะไม่ต่างจากการ “ลอยคอ” อยู่ในมหาสมุทร “ปัจจุบันถือว่าลำบากมากในการประคับประคองธุรกิจ เราถือว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่รอดปลอดภัยมาจนถึงปัจจุบัน จะเห็นว่าในธุรกิจสปาด้วยกัน ล้มหายตายจากไปค่อนข้างเยอะมาก ส่วนใหญ่ก็พึ่งพานักท่องเที่ยวร้อยเปอร์เซ็นต์ และไม่มีสายป่านที่ยาวพอ ตลอด 15 เดือนนี้ ถือว่ายาวนานมาก เราเองก็หวุดหวิดมาก แต่ถามว่า ถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้อีกสักสองถึงสามเดือนก็ค่อนข้างลำบาก” ภาคิน

ยุโรป แอสซิสแทนซ์ (Europ Assistance) เผยผลสำรวจ Barometer ประจำปีครั้งที่ 20 จัดทำโดย IPOS เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวจำนวน 14,000 ราย จาก 14 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยเผยถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปจากการได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด 19 มีนักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 1,000 คนได้มีส่วนในการสำรวจครั้งนี้ โดยพบว่า 44% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยวางแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวในเร็วๆนี้ และมีนักท่องเที่ยวชาวไทยถึง 81% วางแผนที่จะซื้อประกันคุ้มครองการเดินทาง 44% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยวางแผนท่องเที่ยวในวันหยุดช่วงเดือนมิถุนายนถึงกันยายน 2564 นี้ แต่จาก 64% ในจำนวนดังกล่าวยังไม่ตัดสินใจว่าจะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศหรือต่างประเทศ เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวจำนวน 47% ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวยุโรป (อิตาลี 61% สเปน

คำคืนที่ชื่นอุรา ทำให้เราไม่อยากบอกลาวันนี้ไปง่ายๆ วงสนทนาของเพื่อนร่วมทางออกสตาร์ทช้ากว่าที่ควรจะเป็น เพราะตอนที่แสงตะวันจากลา เรายังเลาะอยู่บนถนนที่มีแต่ป่าข้างทาง จากชัยภูมิถึงอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิต ต้องใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง แต่เราก็ไม่ได้รีบร้อน และยังไม่อยากรีบนอน ก็เลยแวะโอ้เอ้อยู่ที่ อ.บ้านเขว้า เดินชมการทอผ้าของชาวบ้านกันจนเพลิน แถมได้เจอผู้ใหญ่ใจดี “นายประพันธ์ เกิดถาวร” ผู้ใหญ่บ้านบูรพา หมู่ 14 หรือ “ผู้ใหญ่แอ๊ด” ทำให้ทุกคนได้พบคำว่า “ผู้ใหญ่ใจดี”  โดยไม่ต้องฟังซ้ำ หลังจากคณะเล็ก ๆ รถตู้คันเดียวของพวกเรา วิ่งวนค้นหาเพื่ออยากดูการทอผ้า (โดยไม่ติดต่อไว้ล่วงหน้า) มัคคุเทศก์ชื่อพรหมลิขิตก็พาเราไปจอดอยู่หน้าบ้านผู้ใหญ่แอ๊ดโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน เมื่อตัวแทนลงไปทักทายไม่เกิน 5 นาที จากนั้นผู้ใหญ่ก็พาเราเดินเลาะตามหมู่บ้านโดยทันที ด้วยหัวใจที่พร้อมบินแบบอัตโนมัติ หรือ อาจจะเป็นจังหวะที่เหมาะเจาะพอดี ดังนั้นกว่าจะเข้าที่พักแถบ อช.ป่าหินงาม ก็ตกค่ำ สภาพอากาศชุ่มเย็นด้วยอุณหภูมิประมาณ 24 องศา