Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

หัวเว่ย จุฬาฯ และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT  

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด จับมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ) และมหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (BUPT) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT โดยเน้นเฉพาะนักพัฒนาระบบคลาวด์ ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนถึงวิสัยทัศน์ร่วมกันในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งอาเซียน

ความร่วมมือดังกล่าวถูกนำเสนอในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มกราคม 2568 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยงานนี้ได้รวบรวมผู้นำในอุตสาหกรรม นักพัฒนา และนักวิชาการกว่า 300 คนจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจด้านนวัตกรรมและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม

ภายใต้ธีม “Spark Infinity: Innovate Today, Transform Tomorrow” งานดังกล่าวได้เน้นย้ำถึงความก้าวหน้าล่าสุดในเทคโนโลยีคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมทั้งมีการนำเสนอแนวคิดจากวิทยากร การแสดงโซลูชัน และการเสวนาเชิงลึก ไฮไลท์สำคัญของงานคือ การแข่งขัน Huawei Developer Competition โดยมีทีมเข้าแข่งขันทั้งหมดเกือบ 200 ทีม รวมผู้เข้าร่วมกว่า 600 คน ที่ร่วมกันแก้ปัญหาในโลกจริงด้วยระบบนิเวศที่ครอบคลุมของหัวเว่ย อาทิเช่น API Explorer, CodeArts, ModelArts และ DataArts Studio การแข่งขันนี้เน้นความคิดสร้างสรรค์ ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค และนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI และเทคโนโลยีที่ยั่งยืน รวมถึงการเร่งการนำ AI มาใช้บนระบบคลาวด์และการพัฒนาเครือข่ายนักพัฒนาระบบที่แข็งแกร่ง

ดร. ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในงานว่า “Asia Pacific Cloud AI Forum เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคด้าน AI และนวัตกรรมดิจิทัล โดยเราสนับสนุนนโยบาย “การใช้คลาวด์เป็นหลัก” (Cloud-First Policy) และ ”ปัญญาประดิษฐ์” (AI) ซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ”

หัวเว่ยมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนนโยบาย Cloud-First และ AI โดยการนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ที่ล้ำสมัย แพลตฟอร์ม AI และโครงการฝึกอบรมต่าง ๆ นโยบาย Cloud-First ของประเทศไทยถือเป็นรากฐานสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยกำหนดให้หน่วยงานรัฐบาลให้ความสำคัญกับการใช้บริการคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ AI Thailand (2565-2570) มุ่งสร้างระบบนิเวศที่บูรณาการ AI ในทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

ดร. ชวพล กล่าวเพิ่มเติมว่า “ที่หัวเว่ย เราเชื่อว่านักพัฒนา คือ สถาปนิกของยุคอัจฉริยะ ความคิด โค้ด และแรงผลักดันของพวกเขา คือจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม ในฐานะองค์กรที่มุ่งมั่นสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราได้พัฒนาบุคลากรดิจิทัลในประเทศไทยเกือบ 100,000 คน รวมถึงนักพัฒนา AI บนระบบคลาวด์ขั้นสูงเกือบ 12,000 คน โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่า 50 แห่งผ่านโครงการ ICT Academy เช่น การแข่งขัน โครงการฝึกอบรม การฝึกงาน และการให้คำปรึกษาทางเทคนิค ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับการเติบโตและนวัตกรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการเหล่านี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนในการสำรวจศักยภาพของ Cloud AI และช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาในอนาคต”

ในขณะเดียวกัน หัวเว่ยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล โดยศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวเว่ยในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลที่ประเทศไทยต้องการเพื่อก้าวไปข้างหน้าในยุคอัจฉริยะ การทำงานร่วมกับผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกอย่างหัวเว่ย ช่วยให้เราสามารถเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของประเทศได้ดียิ่งขึ้น”

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสถาบันร่วมก่อตั้ง “Huawei Academy” มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง (BUPT) ได้แบ่งปันประสบการณ์ปฏิบัติงานจริงจาก 3 มิติสำคัญ ได้แก่ การบูรณาการอุตสาหกรรมและการศึกษา การศึกษาอัจฉริยะ และการพัฒนาบุคลากรดิจิทัล “ในฐานะศูนย์ฝึกอบรมสำคัญสำหรับบุคลากรด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและแหล่งนวัตกรรมเทคโนโลยีไอซีที BUPT มุ่งมั่นในการสำรวจโมเดลความร่วมมือใหม่ๆ กับภาคเอกชน และได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ในการสร้างแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น UNTES Future Learning Center ซึ่งมุ่งเน้นการเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับยุคอัจฉริยะ” หวัง เหยา ผู้อำนวยการสำนักงานระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยไปรษณีย์และโทรคมนาคมปักกิ่ง กล่าวในงานดังกล่าว

ทีมผู้ชนะหลายทีมได้แบ่งปันกรณีศึกษาที่นำการนวัตกรรมบนแพลตฟอร์ม HUAWEI CLOUD ไปประยุกต์ใช้ เช่น ทีมหนึ่งได้พัฒนาระบบเสริมการบำบัดการพูดทางไกลโดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อให้การสนับสนุนการรักษาที่มีประสิทธิภาพและสะดวกยิ่งขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางภาษา อีกทีมได้ออกแบบระบบการจัดการอาคารอัจฉริยะแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการบริหารจัดการอาคารผ่านการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ โครงการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของนักพัฒนาในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรทางธุรกิจจากประเทศไทยกว่า 10 ราย ได้จัดงาน Job Fair ภายใต้กิจกรรมเสริมในครั้งนี้ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มให้กับองค์กรชั้นนำได้เชื่อมโยงกับนักพัฒนาและนักศึกษาที่มีความสามารถ โอกาสนี้ช่วยในการคัดเลือกและดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งเปิดโอกาสในการสำรวจความร่วมมือในอนาคต เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่มีความคล่องตัวและยั่งยืน

สำหรับทีมที่ชนะการแข่งขัน Huawei Developer Competition จะได้รับรางวัลรวมมูลค่า 34,000 ดอลลาร์สหรัฐ การฝึกอบรมทางเทคนิคที่มุ่งเน้นด้าน HUAWEI CLOUD พร้อมโอกาสในการร่วมมือกับหัวเว่ยในโครงการต่างๆ ในอนาคต ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้

Post a comment

nineteen − nineteen =