Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ดอกไม้ข้างกำแพง วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นวัดสำคัญของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีมุ่งในทางวิปัสสนาธุระเล่าเรียนทางคันถธุระ และสมเด็จพระวันรัตยังเป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ที่วัดนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติในการรบครั้งสาคัญสงครามยุทธหัตถีซึ่งมีชัยเหนือข้าศึก

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไท ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมา

สำนักพระวันรัตน์มหาเถร คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยในประเทศลังกา เรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้  จึงมีการตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย

วัดใหญ่ชัยมงคลมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปีพ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่า ที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ

การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” ทว่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองถูกกองทัพพม่าเผาทำลาย วัดใหญ่ชัยมงคลจึงถูกทิ้งร้างไปในที่สุด ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์และมีภิกษุสงฆ์จำพรรษาดังเช่นในปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา  พระมหาอุปราชของหงสาวดี และวิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน   ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก

รายละเอียดเพิ่มเติม : www.watyaichaimongkol.net

ที่มา : http://www.tourismthailand.org

ขอบคุณ : krungsri Consumer

Post a comment

one × three =