Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ไวรัสโคโรนา 2019 Tag

บอร์ด คปภ. ไฟเขียว! มาตรการขยายโอกาสการลงทุนในบริษัทประกันภัยสู้ภัยโควิดและพิษอัตราดอกเบี้ยต่ำ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ซึ่งมี นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานฯ ได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทประกันภัย เพื่อเป็นการขยายโอกาสในการลงทุน อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้บริษัทประกันภัยสามารถกระจายความเสี่ยงในการลงทุนได้ดียิ่งขึ้นภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทย อยู่ในภาวะชะลอตัว และยังคงต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในหลายปัจจัย และภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยได้เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต/บริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 5) และร่างประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดประเภท และชนิดของเงินกองทุน

อพท. จับมือภาคีเครือข่าย จัดทำข้อปฏิบัติของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อสุขอนามัยและความปลอดภัย หวังให้ชุมชนใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตามแนวทางมาตรฐาน SHA เพิ่มความมั่นใจให้กับชุมชนท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวตามวิถีปกติใหม่ หรือ New Normal [caption id="attachment_20272" align="aligncenter" width="799"] นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ[/caption] นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. กล่าวว่า  อพท. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำ “ข้อปฏิบัติของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสุขอนามัยปลอดภัยใส่ใจในสุขภาพ” เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับชุมชนท่องเที่ยวและผู้มาเยือน  โดยข้อปฏิบัติดังกล่าวอ้างอิงจาก โครงการแนวทางความปลอดภัยด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้การเดินทางทั่วโลกชะงักลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แผนการเดินทางถูกยกเลิก สายการบินต่าง ๆ หยุดให้บริการ โรงแรมต่าง ๆ ปิดดำเนินการชั่วคราว และเมืองต่าง ๆ ถูกปิดไม่ให้มีการเข้าออก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการเป็นธุรกิจแรกที่ได้รับผลกระทบอย่างมากตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ในระยะเริ่มแรก จากข้อมูลสถิติด้านการท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพบว่า  จำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563 ลดลงจากปี 2562 ถึงร้อยละ 42.78 และลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 76.41 ในเดือนมีนาคม 2563 และจากการเปิดเผยผลการรวบรวมข้อมูลในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยซึ่งสอดคล้องกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ข้อมูลสถิติของนักท่องเที่ยวขาเข้าจาก 15 ประเทศชั้นนำมีจำนวนลดลง โดยนักเดินทางชาวจีนลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 59.4 ฮ่องกง ร้อยละ 49.8 เกาหลีใต้ ร้อยละ

ช่วงที่เพลง “หนีห่าง” ของ “เขียนไขและวานิช” ตรึงอยู่ในสมอง แอปฯฮิตทางโซเชียล กลายเป็นเพื่อนผู้สร้างรอยยิ้ม แต่หลายคนก็ยังนำเพลงนี้ มาประกอบคลิป เพื่อบรรยายถึงบรรยากาศแห่งความเงียบเหงา เวิ้งว้าง ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 จำได้ว่าทริปสุดท้ายก่อนมาตรการล็อกดาวน์ คือ “ชะอำ-หัวหิน” ซึ่งช่วงนั้นเริ่มมีข่าวการแพร่ระบาดแล้ว เรา 6 คน เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว 2 คัน คันหนึ่งคือพี่น้องร่วมงานที่สนิทสนมกันกันจำนวน 3 คน อีกคันหนึ่ง เป็นครอบครัว “อุชิจิม่า” โดย "พี่ปู" รุ่นพี่ผู้หญิงไทยที่คุ้นเคยกันในสายงาน ซึ่งถือโอกาสชวนสามีชาวญี่ปุ่น (ทำงานในเมืองไทย) และลูกชาย ไปพักผ่อนด้วยกัน บรรยากาศของหัวหินในวันอันเงียบเหงา มีเราอยู่ในความทรงจำอันแสนสุข ก่อนที่ข่าวโควิด-19 จะกลืนเราหายไปจากทุก ๆ สิ่ง 17 มีนาคม

ประเทศไทยมีจำนวนผู้พิการประมาณ 2.2 ล้านคน ในจำนวนนั้นมีผู้พิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย (คนหูหนวก) ประมาณ 3.8 แสนคน หลายคนคงทราบดีว่าพวกเขาไม่สามารถได้ยินเสียงหรือไม่สามารถสื่อสารด้วยการพูด แต่จะใช้ภาษามือในการสื่อสาร โดยการทำท่าทางที่บ่งบอกถึงความหมาย แต่นอกจากนั้นยังต้องอาศัยการอ่านปาก การเคลื่อนไหวรวมทั้งการแสดงความรู้สึกทางใบหน้าตามไปด้วย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แม้แต่คนธรรมดาทั่วไปที่ใส่หน้ากากผ้า ยังสื่อสารกันยาก เพราะเสียงอุดอู้ที่อยู่ใต้หน้ากาก ยิ่งในสถานที่ที่มีเสียงดัง ต้องพูดซ้ำกันอยู่หลายครั้งหลายครา สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน อาจจะมีอุปสรรคมากกว่า เพราะแม้จะเห็นท่าทางแต่ก็ไม่สามารถอ่านรูปปากเพื่อประกอบความหมายที่ชัดเจนได้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคน รวมทั้งคนพิการ จึงได้นำเสนอหน้ากากผ้าแบบใสเพื่อคนพิการทางการได้ยิน เพื่อช่วยให้การสื่อสารของพวกเขาเป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมส่งเสริมการป้องกันการแพร่ระบาดให้กับผู้พิการทางการได้ยินในช่วงเวลานี้ นางพัชรี อาระยะกุล รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กล่าวว่า หน้ากากผ้าสำหรับคนพิการทางการได้ยิน เป็นหน้ากากผ้าที่มีพลาสติกใสอยู่ตรงกลาง เพื่อช่วยให้การพูดสื่อสารมีความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยการมองเห็นรูปปากที่ชัดเจน และเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 “ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19