Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

ความทรงจำ ในความจำ ของคนสะสมแฟลชไดร์ฟ

วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีเป็นความทรงจำของคนในแต่ละยุคสมัย เหมือนที่กลิ่นอายของคนในยุค 80-90 ที่กำลังหอมหวนชวนให้ฟื้นความทรงจำ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์บ้าน แผ่นเสียง เพจเจอร์ เทป วิดีโอ ซีดี MP3 ฯลฯ ล้วนอยู่ในอดีตอันละมุนละไม แม้ไม่รวดเร็วทันใจ แต่ก็เต็มไปด้วยเสน่ห์

ห้อมล้อมด้วยความจำและความทรงจำ

หากกล่าวถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ในวันนี้เราสามารถเก็บทุกอย่างไว้ในอากาศ ด้วยระบบ Cloud แม้ว่าหลายคนจะไม่รู้จักมัน แต่ก็ใช้ประโยชน์กับมันโดยไม่รู้ตัว เพราะเป็นคลังเก็บข้อมูลขนาดยักษ์ที่คนใช้อินเตอร์เน็ตต่างต้องพึ่งพา

สไตล์คาแรคเตอร์ หรือ มาสคอต ของแต่ละแบรนด์

แต่หากโฟกัสกันที่เรื่องงานดีไซน์ เราไม่อาจเห็นได้ว่าเจ้าคลาวด์ หน้าตาเป็นเยี่ยงไร ไม่เหมือนกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในอดีต ยกตัวอย่าง  แผ่นเสียง เทป  ซีดี จะมีแง่มุมของการออกแบบปกมาเป็นตัวสร้างความแตกต่าง แม้ว่าตัวอุปกรณ์จะเหมือนกันเป๊ะ แต่ปกคือการแต่งองค์ทรงเครื่องที่สะท้อนถึงผลงานที่อยู่ในนั้น

โหมดเครื่องดื่ม

เก๋ไก๋ ใช้งานได้จริง

ตัวตนอีกแบบหนึ่งของอุปกรณ์จัดเก็บ คือ การสื่อสารถึงแบรนด์ เพราะเทป วิดีโอ และซีดี จะเกี่ยวข้องกับงานบันเทิงเป็นส่วนใหญ่  แต่สำหรับ Thumb drive, Flash drive หรือ  Handy drive เป็นชื่อเรียกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลขนาดเล็ก ที่หมายถึงหน่วยความจำที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB หลายคนคงคุ้นเคยดี แม้ว่าในปัจจุบันอาจจะไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากสามารถรับส่งข้อมูลกันทางอากาศได้แล้ว

สายท่องเที่ยวและการเดินทาง

สายรถยนต์ การเดินทาง

ลืมดึงออกมาให้ดูว่าเป็น USB

หากย้อนไปสัก 10 ปีที่ผ่านมา ในวงการผลิตคอนเท้นต์ แฟลชไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ประจำคอมพิวเตอร์ที่แทบทุกคนต้องมี เกิดเป็นปรากฎการณ์ว่า ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใด เราก็มักจะพบแฟลชไดร์ฟเป็นของที่ระลึกอยู่เสมอ เพราะตัวมันเองไม่ได้เป็นแค่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล แต่สามารถออกแบบหน้าตาหรือเติมแต่งให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและจดจำ จนกลายเป็นไอเดียหนึ่งของการออกแบบ ที่มองแล้วเหมาะกับการสะสมยิ่งนัก

ราว 10 ปีที่แล้ว นั่นไม่ใช่ครั้งแรกที่ผู้เขียนได้รับแฟลชไดร์ฟเป็นของขวัญ และก่อนหน้านั้นก็ดูเหมือนว่าจะมีมากเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอใช้ เพราะหน่วยความจำยังน้อยและมีราคาค่อนข้างสูง แรงจูงใจในการเก็บจึงยังไม่ปรากฎ อีกทั้งเมื่อใช้ไปนาน ๆ ผ่านมือใครหลายคน เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ก็อาจจะมีอาการรวน ติดไวรัส พัง และหาย ไปเป็นจำนวนมาก

ดึงเพื่อใช้ เสียบไว้เมื่อเก็บ เป็นปลากระป๋องแห่งความทรงจำ

ต้นปี 2554 หลังจากได้รับการ์ดอวยพรปีใหม่จากบริษัทไวน์แห่งหนึ่ง การออกแบบการ์ดที่มีจุกไวน์เข้ามาเป็นส่วนประกอบ ถือเป็นไอเดียเก๋ที่ไม่เหมือนใคร เรียกว่ามันก็เท่ดี เป็นการ์ดกึ่งสามมิติที่จับต้องแบรนด์ได้ตรงตัว ได้รับแล้วก็เก็บมันไว้ในลิ้นชักมาสักวงเวลาหนึ่ง จนวันที่ต้องจัดระเบียบโต๊ะทำงาน  ก็มานั่งพินิจมันอีกที  เห็นรอยบากเสมือนว่า มันสามารถเปิดออกจากกันได้ จากนั้นจึงได้พบว่า ภายในจุกไวน์ในกล่องเล็กๆ ใบนั้น เป็นแฟลชไดร์ฟที่ “โคตรเท่” เลย

อาหารการกิน

การออกแบบให้สอดคล้องกับแต่ละแบรนด์

คาดว่าช่างภาพหลายคนจะมีสิ่งนี้

เท่ๆ กับ Netflix

สายไฮโซโก้เก๋ หรูหราดังเครื่องประดับล้ำค่า

ไม่รู้ว่าจะมีใครอีกกี่คนที่มองผ่านมันไป หรือมีแค่เราที่มองตื้นเพียงนั้น จากนั้นไป จึงไม่เคยลืมสังเกตของที่ระลึกแปลกๆ ที่มักจะเจอตามสายงาน และเริ่มเห็นความหลากหลายของแฟลชไดร์ฟ หากสวยเก๋ไม่เหมือนใคร ก็จะเลือกเก็บไว้ เป็นการสะสมแบบไม่ขวนขวาย แค่ประกาศก้องในหมู่เพื่อนพี่น้องที่สนิทในออฟฟิศว่า มีแฟลชไดร์ฟแปลกๆ มา “ขอนะ” หลายครั้งก็เป็นการมัดมือชกนั่นแหละ

แนวการ์ด USB

เก็บไปเก็บมาก็อย่างที่ภาพปรากฏ เมื่อเพื่อนบางคนทราบว่าชื่นชอบ โอกาสดีๆ ก็มีการซื้อให้เป็นของขวัญบ้าง รุ่นพี่บางคนก็ยอมแบ่งมาให้บ้าง แต่ก็ไม่ถึงขนาดตระเวนหาอย่างจริงจังเหมือนการสะสมอื่นๆ เพราะสมัยทำงานประจำ ยอมรับว่า เดือนๆ หนึ่งต้องมีมาอย่างน้อย 1-2 อัน

ปัจจุบันแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในสายงานที่จะพบเจออีเว้นท์มากนัก และการผลิตแฟลชไดร์ฟเป็นของที่ระลึกก็เริ่มลดความนิยมลงไป ส่วนตัวเองก็หันมาใช้ External Harddisk ซึ่งเก็บข้อมูลได้มากกว่ามาก แต่ความทรงจำของแฟลชไดร์ฟ ก็ยังคุกรุ่นในกล่อง แต่ละปีจะนำออกมาชื่นชม และยังคงป่าวประกาศเบาๆ ว่ายังเปิดรับแฟลชไดร์ฟจากเพื่อนพี่น้องมาดูแลอยู่นะ

ยังมีพื้นที่ว่างอีกเยอะ

มีเรื่องราวมากมายในแฟลชไดร์ฟ แม้จะไม่ใช้ผลงานของศิลปินผู้เลื่องชื่อ แต่เป็นข้อมูลที่แต่ละแบรนด์จัดเก็บไว้เพื่อการสื่อสารในช่วงเวลาต่างๆ จนกว่ายุค USB จะหมดไป ข้อมูลในนั้นก็ยังคงเปิดอ่านได้

ยังคงเก็บไว้อย่างเก๋ไก๋ พร้อมความทรงจำที่ดี

แม้วันหนึ่งแฟลชไดร์ฟอาจต้องลงเอยเหมือนเทป แต่วันนั้นงานดีไซน์จะบอกคุณค่าแห่งกาลเวลาได้อย่างดีเยี่ยม   โดยเฉพาะวันนั้น เมื่อปี 2554 จะมีใครเผลอทิ้งจุกไวน์ในการ์ดอวยพรไปบ้างนะ (น่าเสียดายจัง)

ขอขอบคุณ เจ้าของแบรนด์ และผู้มอบความทรงจำดีๆ ทุกท่าน

LANLOM

lanlom@hotmail.com

LINE ID : LANLOM

 

Post a comment

16 − 9 =