Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Thailand Culture 21 Best Practice ชูเมืองเก่าภูเก็ต-แม่กลอง ต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยวัฒนธรรมระดับโลก 

โครงการ  Thailand Culture 21 Best Practice เลือกเมืองเก่าภูเก็ต และแม่กลองเมืองสามน้ำ เป็น 2 เมืองนำร่อง เตรียมผลักดันสู่เมืองต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยวัฒนธรรมระดับโลก 

ย่านเมืองเก่าภูเก็ต และจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับการคัดเลือก จากโครงการ Thailand Culture 21 Best Practice ภายใต้การผลักดันของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรรม พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตร มหาวิทยาลัยศิลปากร และ Roaming Elephants.com มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่/เมืองแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้วัฒนธรรมนำเศรษฐกิจของประเทศไทย ตามแนวคิด Agenda  21 for Culture ของสหพันธ์เมืองและรัฐบาลท้องถิ่นระหว่างประเทศ ( United Cities and Local Governments – UCLG )

ทั้งนี้ UCLG เป็นองค์กรเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนทางวัฒนธรรม นำการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกิดขึ้นภายใต้มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ โดยมีแนวคิดหลักในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนด้วยวัฒนธรรม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความร่วมมือ และการพัฒนาระหว่างประเทศโดยหันมาให้ความสำคัญกับมรดก ศิลปะ และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มากขึ้น

“วัฒนธรรมเป็นหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเมือง Urban strategies การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สร้างสังคมแห่งความรู้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับทุกคน รวมถึงบทบาทในการสร้างการจ้างงาน และการฟื้นฟูเมืองให้ไม่เกิดการแบ่งแยกทางสังคมด้วยวัฒนธรรมเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญของโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน การเจรจาระหว่างวัฒนธรรม และการส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ” มติที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อปี 2021 ระบุ

ย่านเมืองทั้งสองจังหวัดได้รับการรับคัดเลือกเพื่อพัฒนาต่อยอดสู่ Thailand Culture 21 Best Practice โดย เมืองเก่าภูเก็ต เป็นเขตเมืองที่รุ่มรวยด้วยมรดกทางภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ทั้งอาหาร อาคาร อาภรณ์  ขณะเดียวกันเมืองสมุทรสงคราม ก็เป็นเมืองแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ก่อให้เกิดวิถีชีวิต และอาหารท้องถิ่นจากชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ดินดอนปากแม่น้ำ และพื้นที่ภูเขา  ทั้งสองเมืองจึงมีมนต์เสน่ห์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นหาใครเทียบได้ยาก

นายสมยศ ปาทาน ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต กล่าวว่า แนวทางของโครงการ Thailand Culture 21 Best Practice ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของชุมชนเป็นอย่างดีในทุกมิติ ในฐานะผู้แทนของวิสาหกิจชุมชนฯ จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมเดินทางในการผลักดันพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ตให้เป็นพื้นที่ต้นแบบแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยมิติวัฒนธรรม

ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต กล่าวด้วยว่า เมืองเก่าภูเก็ตเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของวัฒนธรรมทั้ง ไทย จีน เปอรานากัน ผู้คนมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่หลากหลาย แต่อยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว ชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าภูเก็ต เป็นการรวมตัวกันเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการรักษาวิถีชีวิต วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อาหารดั้งเดิมของชาวภูเก็ตให้คงอยู่ จึงนับเป็นนิมิตรหมายที่ดี

ด้านนางถิรดา เอกแก้วนำชัย ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ แสดงความขอบคุณกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และพันธมิตรที่เห็นความสำคัญ และริเริ่มให้เกิดโครงการฯ นี้ขึ้น โดยเชื่อว่า โครงการฯ นี้จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะเชิดชูวัฒนธรรมท้องถิ่นของเมืองสมุทรสงครามให้คนทั่วโลกได้เห็นในอีกมุมมองหนึ่ง

“พื้นที่เล็ก ๆ แห่งนี้จะได้ปรากฏสู่สายตาของนานาชาติผ่านแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติวัฒนธรรม” ในฐานะตัวแทนจากชุมชนสมุทรสงคราม กล่าว และว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย แต่เรามีทรัพยากรอันเป็นแหล่งกำหนดภูมิปัญญา วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ เช่น มีน้ำ 3 น้ำ คือน้ำเค็ม น้ำจืด และน้ำกร่อย ทำให้สมุทรสงครามมีดินที่อุดมสมบูรณ์เพาะปลูกได้ผลผลิตดีเยี่ยม มีความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในท้องถิ่นได้ใช้ประโยชน์ตลอดทั้งปีส่งผลต่อวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นทั้งในด้านอาชีพ อาหาร วิถีชีวิตรวมไปถึงประเพณีต่าง ๆ

หลังจากนี้ โครงการ Thailand Culture 21 Best Practice จะพัฒนาทั้งสองเมืองด้วยการทำงานแบบบูรณาการกับภาครัฐ เอกชน ชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการตามแนวทางของ Culture 21 Plus ที่ประกอบไปด้วย 6 มิติหลัก ได้แก่

1.สิทธิ คือการให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางวัฒนธรรมของทุกคน 2.ชุมชน คือให้ทุกคนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี  3.ความมั่งคั่ง คือการใช้วัฒนธรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 4.อาณาบริเวณ คือการมีพื้นที่ในการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบไม่ปิดกั้น 5. ธรรมชาติ คือวัฒนธรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และ 6.การบริหารจัดการ คือการสร้างกลไกการดูแลทุนทางวัฒนธรรมร่วมกัน เพื่อเป็นต้นแบบของประเทศไทย

พร้อมกันนี้จะผลักดันเข้าสู่การประกวดในระดับโลก International Award UCLG – Culture 21 ซึ่งเป็นการมอบรางวัลด้านวัฒนธรรมระดับนานาชาติที่ให้การยกย่องเมือง และบุคคลที่มีความเป็นเลิศในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมในฐานะมิติแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนในท้องถิ่น ซึ่งโครงการดังกล่าวมีสมาชิกกว่า 240,000 โครงการจาก 140 ประเทศทั่วโลก

สามารถติดตามความคืบหน้าโครงการได้ที่   www.facebook.com/thailandculture21 และ www.thailandculture21.com

Post a comment

one + 1 =