Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

แรงงานไทย Gen Y และ Gen Z คิดอย่างไร เมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่ในโลก

โดย

มาร์ค จอห์น แมคคลีน ผู้อำนวยการบริหาร | ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง

ดร. โชดก ปัญญาวรานันท์ ผู้จัดการ Clients & Industries | ดีลอยท์ ประเทศไทย

ปฏิเสธไม่ได้ว่า The Great Resignation เป็นผลมาจากช่องว่างระหว่างวัยที่กัดกินทรัพยากรและเวลาขององค์กรภาคธุรกิจทั่วโลก เพื่อรักษาและค้นหาบุคลากรที่มีความสามารถมาร่วมขับเคลื่อนองค์กร ดังนั้น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพด้วยความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น ย่อมจะเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จที่สำคัญอย่างมาก

จากรายงาน The Deloitte Global 2022 Gen Z and Millennial Survey: Striving of Balance, Advocating for Change[1] ซึ่งได้ทำการสำรวจบุคลากรใน Generation Y (Millennials) จำนวน 8,412 คน และ Generation Z อีก 14,808 คน ซึ่งรวมคนไทยรุ่นใหม่ถึง 300 คน เพื่อวัดมุมมองเกี่ยวกับการทำงานและมองมองต่อโลกมิติต่าง ๆ โดยได้ข้อค้นพบ 4 ประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้

ประเด็นแรก คนรุ่นใหม่ต้องดิ้นรนกับค่าครองชีพและวิตกกังวลเรื่องการเงิน

ร้อยละ 36 ของ Gen Y และร้อยละ 29 ของ GenZ ตอบว่าค่าครอบชีพ (ได้แก่ ค่าที่อยู่ ค่าเดินทาง ฯลฯ) คือเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สุด ทั้งผลมาจากภาวะเงินเฟ้อและความไม่เท่าเทียมกันของฐานะ กลุ่มตัวอย่างคนไทยในกลุ่ม Gen Y ในสัดส่วนเดียวกันเห็นสอดคล้องกับคนส่วนใหญ่ในโลก ในขณะที่ร้อยละ 33 คนไทยในวัย Gen Z ห่วงเรื่องการไม่มีงานทำมากกว่า เมื่อมองลึกไปอีกจะพบว่า 3 ใน 4 ของกลุ่ม Gen Y (ร้อยละ 77) และ กลุ่ม Gen Z (ร้อยละ 72) เห็นว่าช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนห่างขึ้นเรื่อย ๆ

เกือบครึ่งของกลุ่ม Gen Y (ร้อยละ 47) และ Gen Z (ร้อยละ 46) ต้องใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือนภายใต้ความกังวลว่าจะไม่มีเงินไปจ่ายบิลต่าง ๆ ที่ส่งมา ซึ่งคนไทยในกลุ่ม Gen Y (ร้อยละ 67) และ Gen Z (ร้อยละ 68) ซึ่งสูงกว่าคนค่าเฉลี่ยของโลกในสถานการณ์เดียวกันอย่างมีนัยสำคัญ

มากกว่าครึ่งของค่ายเฉลี่ยโลก ร้อยละ 59 ของกลุ่ม Gen Y และ Gen Z ไม่มั่นใจว่าจะสามารถเกษียณอายุได้อย่างมีชีวิตที่สะดวกสบาย ซึ่งเรื่องนี้คนไทยกลับมีมุมมองที่เป็นบวกกว่าเล็กน้อย เพราะใน Gen Y ร้อยละ 43 และ Gen Z ร้อยละ 51 ที่ให้คำตอบกับคำถามเดียวกัน

ดังนั้น คนรุ่นใหม่ส่วนมากจึงหาทางออกกับสถานการณ์การเงินที่ยากลำบากนี้ โดยร้อยละ 33 ของกลุ่ม Gen Y และ ร้อยละ 43 ของกลุ่ม Gen Z เลือกที่จะทำงานเสริมหรือมีอาชีพที่สองเพิ่มเติมจากงานหลัก ในขณะที่บางส่วนเริ่มย้ายตัวเองไปอยู่ในเมืองที่ค่าครองชีพต่ำกว่าเพื่อทำงานแบบ Remote Work แม้ว่ายังมีไม่มากแต่ก็เพื่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคนรุ่นใหม่ของไทยก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยร้อยละ 63 ของคนไทยกลุ่ม Gen Y และ ร้อยละ 67 ของกลุ่ม Gen Z มีรายได้มากกว่าช่องทางเดียว โดย 3 อันดับของงานเสริมที่นิยมมากที่สุดของคนไทย ได้แก่ การขายของออนไลน์ การเป็นศิลปิน และ การทำงานองค์กรไม่แสวงหากำไร

ร้อยละ 11 ของ Gen Y และ Gen Z มองว่าความไม่มั่นคงทางการเมือง สงคราม และ ความขัดแย้งระหว่างประเทศคือประเด็นที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญสูงสุด

ประเด็นที่สอง The Great Resignation สัญญาณแห่งจุดแตกหักและโอกาสในการประเมินวิธีการทำงานใหม่ ๆ

แม้ว่าความภักดีต่องานเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในปีก่อนเล็กน้อย แต่ผลจาก The Great Resignation ยังคงครุกรุ่นโดยเฉพาะกับกลุ่ม Gen Z ซึ่งพบว่าร้อยละ 40 ของ Gen Z ของค่าเฉลี่ยประชากรโลก และ ร้อยละ 39 ของคนไทยวางแผนว่าจะออกจากการทำงานภายใน 2 ปี ซึ่งเมื่อเทียบกับ Gen Y แล้ว ค่าเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 25 และ 13 ของประชากรโลกกับคนไทย ตามลำดับ

ราว 1 ใน 3 ของค่าเฉลี่ยประชากรโลกอาจจะลาออกจากงานโดยที่ไม่ได้มีงานอื่นรองรับ สะท้อนถึงความไม่พึงพอใจในงานที่ทำอยู่ คนไทยรุ่นใหม่ถึง 2 ใน 3 ที่ตอบในคำถามเดียวกัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจก็เรียนรู้และปรับตัวเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถเช่นกัน โดยพบว่าค่าตอบแทน คือ สิ่งที่ดึงดูดคนให้อยู่กับองค์กรได้ผลที่สุดใจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เหตุผลหลักของคนไทยรุ่นใหม่เลือกทำงาน คือ ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตที่ดี และ โอกาสการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง

โดยเฉลี่ยราวร้อยละ 75 ของคนรุ่นใหม่ในกลุ่มประชากรโลกชอบการทำงานแบบ Remote Work เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย มีเวลาสำหรับกิจกรรมอื่น ๆ และ ครอบครัวมากขึ้น ร้อยละ 45 ของ Gen Y และ ร้อยละ 49 ของ Gen Z ต้องการงานที่มีความยืดหยุ่น ในขณะที่ร้อยละ 64 ของคนไทยในกลุ่ม Gen Y และ ร้อยละ 71 ของ Gen Z อยากทำงานแบบแบบที่จะได้มาเจอหน้าเพื่อนร่วมงานบ้าง แต่ให้มีวันที่สามารถทำงานจากที่บ้านได้ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือ ประหยัดเงิน และ มีเวลาเหลือ

ประมาณร้อยละ 20 ของการสำรวจระดับโลกบอกว่าตนได้ปฏิเสธการทำงานหรือการมอบหมายงานหากงานนั้น ๆ ไม่ได้สอดคล้องกับคุณค่าในชีวิต ซึ่งหากนายจ้างแสดงออกถึงความใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีวัฒนธรรมในองค์กรที่ยอมรับในความหลากหลาย ก็มีแนวโน้มสูงที่จะทำงานกับองค์กรนั้น ๆ นานกว่า 5 ปี

ประเด็นที่สาม คนทำงานให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ยั่งยืนการมีส่วนร่วมในการรักษ์สิ่งแวดล้อม

การปกป้องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญสูงสุด ราวร้อยละ 75 ของค่าเฉลี่ยของโลก และ ร้อยละ 88 ของคนไทยรุ่นใหม่เชื่อว่าโลกอยู่ในจุดเปราะบางที่อาจจะไม่สามารถหวนคืนสู่สภาพเดิมได้อีกแล้วหากเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่ไม่ถึงครึ่งที่มองโลกในแง่ดีว่าความพยายามในการปกป้องโลกที่นายจ้างลงทุนไปจะประสบความสำเร็จ

คนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 ของคนรุ่นใหม่พยายามที่จะมีส่วนในการลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม โดยร้อยละ 64 ของคน Gen Z ยอมจ่ายแพงขึ้นเพื่อซื้อสินค้าที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ร้อยละ 94 ของคนไทยในทั้งสอง Generation ตอบในคำถามเดียวกัน

คนรุ่นใหม่ต้องการเห็นนายจ้างให้ความสำคัญของการดำเนินการด้านสภาพอากาศที่เป็นรูปธรรม เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมได้โดยตรง อย่างไรก็ตามนายจ้างต้องทำมากกว่านี้ เพราะมีเพียงร้อยละ 16 ของ Gen Y และ ร้อยละ 18 ของ Gen Z เท่านั้นที่เชื่อว่านายจ้างของพวกเขามีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเด็นสุดท้าย สุขภาพจิตในที่ทำงานจะเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้นเรื่อย ๆ

บุคลากรใน Gen Z บอกว่าตนเองมีความเครียดและวิตกกังวลมากขึ้น ร้อยละ 46 บอกว่ารู้สึกเครียดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคนไทยในกลุ่มเดียวกันมีมากกว่าถึงร้อยละ 60 ในขณะที่ร้อยละ 38 ของ Gen Y มีระดับความเครียดที่สูง แต่ก็ลดลงบ้างเมื่อเทียบกับผลสำรวจในปีที่ผ่านมา โดยร้อยละ 42 ของคนไทยในกลุ่ม Gen ตอบในประเด็นเดียวกัน

จากการสำรวจประชากรโลกพบว่าร้อยละ 46 ของคน Gen Z สูงกว่า Gen Y ที่ร้อยละ 38 ซึ่งเป็นกลุ่มที่บอกว่ารู้สึกเครียดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคนไทยรุ่นใหม่มีสัดส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามในคำถามเดียวกันสูงกว่ามาก ร้อยละ 60 ของ Gen Z และ ร้อยละ 42 ของ Gen Y ที่ตอบในคำถามเดียวกัน แม้ว่าสัดส่วนนี้จะลดลงจากการสำรวจในปีที่แล้วเล็กน้อย

การเงินทั้งในระยะสั้นและระยะยาวยังคงเป็นปัจจัยหลักของความเครียดกับทั้งสองกลุ่ม โดยร้อยละ 67 ของคนไทยมีความกังวลกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรโลก

ในขณะที่การหมดไฟในการทำงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยมากในคนรุ่นใหม่ทั้งสองกลุ่มซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงภาระที่นายจ้างต้องพยายามดึงบุคลากรเอาไว้ มากกว่าครึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าตัวเองหมดไฟจากการทำงานหนัก และ ความต้องการต่าง ๆ ของสภาพแวดล้อมในที่ทำงานสูง โดยกล่าวว่าคนส่วนใหญ่ที่เพิ่งออกจากงานเพราะความกดดันจากปริมาณงานที่หนักนั่นเอง

ฝ่ายองค์กรเองเริ่มความสำคัญกับสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีของที่ทำงาน มากกว่าครึ่งของคนรุ่นใหม่ยอมรับว่าสองประเด็นนี้เป็นสิ่งที่นายจ้างให้ความสำคัญมากขึ้นจริงนับตั้งแต่เกิดโรคระบาด อย่างไรก็ตามก็มีความสงสัยว่าการที่นายจ้างให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จะเกิดผลกระทบเชิงบวกจริงหรือไม่

กล่าวโดยสรุป

การเปรียบเทียบผลการสำรวจคนรุ่นใหม่ของคนไทยกับคนส่วนใหญ่ในโลกช่วยสะท้อนให้เราเห็นอะไรบางอย่างที่นำไปสู่วิธีคิดใหม่ ๆ เพื่อรองรับกับบริบทที่มีความแตกต่างมากขึ้น เราเชื่อว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนมุมมองต่อการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารบุคลากร การดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และ การเป็นองค์กรที่มีความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

[1] Note: Gen Y (Millennial) respondents were born between January 1983 and December 1994, and Gen Z respondents were born between January 1995 and December 2003.

Post a comment

16 − 16 =