Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

Temple Isolation : พระไม่ทิ้งโยม

ในช่วงเวลาที่ทุกคนต้องช่วยเหลือกัน ไม่ว่าจะสะดวกพร้อมด้านใด ก็มีส่วนในการช่วยเหลือสังคมได้ นอกจากหน่วยงาน มูลนิธิ หรือจิตอาสาที่ออกมาช่วยกันแบ่งเบาสถานการณ์ที่ยากลำบากในช่วงโควิด-19 แล้ว ที่พึ่งทางใจของชาวพุทธยังออกมาเป็นส่วนหนึ่งในการการต่อสู้วิกฤตในครั้งนี้ ภายใต้การทำงานของ ‘Temple Isolation’  

พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้จัดการโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีสถิติผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ทำให้ผู้ป่วยโควิด-19 ล้นโรงพยาบาล ผู้ป่วยเข้าไม่ถึงการรักษา จึงได้ปรับโครงการโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และภาคีเครือข่าย มาช่วยแก้ไขวิกฤตโควิด-19 ในกรุงเทพฯ โดยดำเนินการปรับศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม อาคารขนาด 3 ชั้นของวัดสุทธิวราราม จัดตั้งเป็นศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19  สำหรับดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการ เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 ถือเป็นการใช้มาตรการดูแลผู้ป่วยที่วัด (Temple Isolation) เพื่อรอนำส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยมีพระนักพัฒนาการสาธารณสงเคราะห์ กลุ่ม “พระไม่ทิ้งโยม” กว่า 20 รูป พร้อมทีมแพทย์ พยาบาลอาสาสมัครคอยดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียวที่ตกค้างให้ได้รับการเข้าถึงการรักษาที่ศูนย์พักคอยโดยแยกออกจากคนในครอบครัว มุ่งลดการแพร่ระบาดในชุมชมวงกว้าง

พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร. กล่าวว่า Temple Isolation ของวัดสุทธิวราราม มีรูปแบบการจัดการและวางระบบที่มีความพร้อม 5 ด้าน คือ 1.ด้านสถานที่ วัดรองรับผู้ป่วย 120 เตียง ปัจจุบันมีผู้ป่วย 60 คน และยังมีผู้ป่วยในชุมชนเจริญกรุง 57 กว่า 100 คน ซึ่งกลุ่ม “พระไม่ทิ้งโยม” ให้ความช่วยเหลือดูแลครอบคลุมทั้งผู้ป่วยโควิด-19 ในวัดและชุมชนรอบข้าง 2.ด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย ร่วมกับ โรงพยาบาลสงฆ์ และโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จัดทีมแพทย์ พยาบาล เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยในศูนย์พักคอยตลอด 24 ชั่วโมง แบ่งเป็นกลางวัน 3 คน และกลางคืน 3 คน 3.ด้านอาหาร วัดรับบริจาควัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบอาหารให้แก่ผู้ป่วย 3 มื้อ และรับบริจาคอาหารแห้ง อาหารกล่อง น้ำดื่ม เพื่อนำไปแบ่งปันให้ผู้ป่วย รวมถึงกลุ่มคนเปราะบางในชุมชน 4.ด้านการค้นหาผู้ป่วย กลุ่ม “พระไม่ทิ้งโยม” ร่วมลงพื้นที่เชิงรุกในชุมชนรอบข้างค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อให้เข้าถึงการรักษาเร็วที่สุด และ 5.ด้านการสื่อสาร มีการพัฒนาสื่อรูปแบบอินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่าย กระจายสู่คนในพื้นที่ โดยจะขยายการผลิตสื่อชุดความรู้ในรูปแบบคลิปวิดีโอ เพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจให้สังคมไทยสู้กับสถานการณ์โควิด-19 ในวงกว้างต่อไป

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส.  กล่าวว่า สสส. มุ่งพัฒนาสุขภาวะองค์กรสงฆ์และชุมชน โดยผลักดันให้เกิดศูนย์การเรียนรู้พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม ภายในวัดสุทธิวรารามขึ้น โดยในช่วงวิกฤตโควิด-19 ได้ผลักดันให้จัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่วัด เพื่อรองรับผู้ป่วยในชุมชน ระบบ Temple Isolation ของวัดสุทธิวราราม ถือเป็นต้นแบบดูแลผู้ป่วยในวัดหรือสถานศึกษาสงฆ์พื้นที่อื่นๆ ได้ เนื่องจากขณะนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 ไม่มีอาการกลับไปรักษาตัวที่ภูมิลำเนาของตัวเองจำนวนมาก โดย สสส. จะประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อขยายแนวทางการจัดทำระบบ Temple Isolation ให้ได้มากที่สุด ขณะนี้ สสส. สานพลังภาคีธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติเสนอมหาเถรสมาคมผลักดันแนวคิดนี้ให้เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 วัด 1 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ ลดภาระปัญหาผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล ตัดวงจรการระบาดและลดจำนวนผู้เสียชีวิตของไทย

ทั้งนี้ องค์กรที่มีความพร้อมหรือสนใจ ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://stopcovid.anamai.moph.go.th/dashbord_center/ เพื่อแจ้งความประสงค์จัดตั้ง Community Isolation โดยจะมีทีมงานประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหาแนวทางการจัดการวางระบบที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานต่อไป

Post a comment

1 + 18 =