“เรียนรู้ ทัศนคติลบในจิตใต้สำนึก” สนับสนุนความเท่าเทียมกับ 3เอ็ม
3เอ็ม สนับสนุนความเท่าเทียม ด้วยการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรู้สึกหรือการกระทำที่ไม่เป็นกลางต่อผู้อื่นจากทัศนคติลบในจิตใต้สำนึก เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีความเสมอภาคและให้เกียรติซึ่งกันและกัน แม้ว่าองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการรวมองค์กรเป็นหนึ่งใจเดียวด้วยการยอมรับคุณค่าในความหลากหลายและอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม ปรากฎว่าจำนวนผู้บริหารหญิงในปี 2564 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงมีจำนวนน้อย คือไม่ถึง 28% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้บริหารชาย บางทีอาจจะถึงเวลาแล้วที่เราควรจะพิจารณาถึงปัญหาที่มีอยู่จริง ซึ่งถือเป็นอุปสรรคในการสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้น นั่นก็คือ ความรู้สึกหรือการกระทำที่ไม่เป็นกลางของเราต่อผู้อื่นอันเนื่องมาจากทัศนคติลบที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา หรือบางคนอาจเรียกว่า “อคติโดยไม่รู้ตัว” ด้วยพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว จึงทำให้พฤติกรรมนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ โดยผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักว่า “มีความไม่เป็นกลาง” เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรามีความรู้สึกที่ไม่เป็นกลางและเราก็แสดงออกต่อผู้อื่นด้วยความไม่เป็นกลางโดยไม่รู้ตัว สิ่งนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนเกิดคำถามว่าเราจะแก้ปัญหากับความรู้สึกหรือการกระทำที่ไม่เป็นกลางของเราต่อผู้อื่น จากทัศนคติลบที่ฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราได้อย่างไร ประการแรก องค์กรต่างๆ ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “ความไม่เป็นกลางจากทัศนคติลบในจิตใต้สำนึก” แก่บุคลากรทุกระดับ และส่งเสริมให้พนักงานได้ไตร่ตรองและสังเกตตนเองเพื่อพิจารณาว่าเขามีความรู้สึกหรือการกระทำที่ไม่เป็นกลางต่อผู้อื่นจากทัศนคติลบในจิตใต้สำนึกของเขาหรือไม่ และให้เขาตั้งเป้าหมายในการขจัดทัศนคติลบนั้นออกไป เราควรให้ความรู้ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องแทนที่จะจัดทำเพียงแค่ครั้งเดียว เพื่อการสร้างความตระหนักรู้นี้จะได้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมที่บุคลากรยอมรับในความหลากหลายและเห็นคุณค่าของทุกคนให้แข็งแกร่ง ประการที่สอง เราจะต้องทิ้งแบบแผนทางความคิดแบบเดิมๆ และจำกัดความคำว่า “ภาวะผู้นำ” กันใหม่