วิจัยเพื่อพัฒนา “ปัญหาแทกซี่” ในวันที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลง
ก่อนหน้าโควิด-19 แท็กซี่บางส่วนถูกตั้งคำถามมากมายถึงการเลือกให้บริการ ในบางพื้นที่การเรียกแทกซี่เป็นเรื่องยาก ไม่เพียงเพราะจำนวนที่น้อยกว่าผู้ใช้บริการ แต่ปัญหาใหญ่ในตอนนั้นคือการปฏิเสธผู้โดยสาร ในตอนนั้นใครเรียกแทกซี่ได้ง่ายถือว่าดวงดี แต่มาวันนี้ แทกซี่เป็นหนึ่งในระบบขนส่งที่กำลังตกอยู่ในที่นั่งลำบากทั้งจากทั้งการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระบบคมนาคม การเกิดสถานการณ์โควิด-19 การถีบตัวของราคาพลังงาน หรือการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเองก็ตาม ปัจจุบันมีผู้ประกอบการแท็กซี่จำนวนมากในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากสถิติจำนวนรถแท็กซี่ของกรมขนส่งทางบก พบว่ามีรถแท็กซี่จดทะเบียนสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 - พฤษภาคม พ.ศ. 2563 รวม 131,801 คัน (กรมขนส่งทางบก, 2563) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถแท็กซี่ดังกล่าวมีผลกับการจราจร อุบัติเหตุ และความปลอดภัยในด้านต่างๆ รวมไปถึงภาพรวมสุขภาพของประชากรในประเทศ ที่มาจากพฤติกรรมทางสุขภาพของอาชีพคนขับแท็กซี่ด้วย ทั้งนี้ แท็กซี่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มแรงงานนอกระบบ ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองในระบบหลักประกันคุ้มครองแรงงานซึ่งจากการสำรวจแรงงานนอกระบบของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2562 พบว่า มีแรงงานนอกระบบมากถึง 20.4 ล้านคน หรือร้อยละ