Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค นำงานวิจัยช่วย SME สู้วิกฤติโควิด-19

อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค นำงานวิจัยสู้วิกฤติโควิด-19 หวังช่วยยกระดับและพัฒนา SMEs และวิสาหกิจชุมชน เดินหน้าสนับสนุนทุนการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ผ่านโครงการ RD Facilities Boost up และบริการต่างๆ ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อหวังยกระดับผู้ประกอบการ สร้างความเข้มแข็งให้กับสินค้านวัตกรรม และเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและนวัตกรรม 

ทิพวัลย์ เวชชการัณย์

นางสาวทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์  เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ด้วยเหตุนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค หรือนิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาคจึงได้มุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน รวมถึงนักวิจัยที่ต้องการนำงานวิจัยมาต่อยอดทางธุรกิจ ด้วยการสนับสนุนทุนการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์สูงสุด 80% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรือไม่เกินวงเงิน 1 แสนบาท ภายใต้โครงการยกระดับการวิจัยและพัฒนาของผู้ประกอบการ ด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ RD Facilities Boost up ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับสินค้านวัตกรรมและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้    ภูมิปัญญาและนวัตกรรม นอกจากโครงการ RD Facilities Boost up แล้ว อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคยังมีบริการต่างๆ ที่ช่วยผู้ประกอบการ เช่น การบ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่ การวิเคราะห์ทดสอบและรับรองมาตรฐาน การพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชน การวิจัยร่วมกับภาคเอกชน การบริหารจัดการด้านทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ ยังมีบริการพื้นที่สำหรับทำวิจัย พื้นที่สำหรับจัดตั้งธุรกิจ และพื้นที่ส่งเสริมการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม (co-working space)

“อุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการจับคู่ระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มโอกาสในการอยู่รอดและเร่งการเติบโตของธุรกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นระบบนิเวศที่เอื้อต่อการทำงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เปรียบเสมือน Sandbox ในการบ่มเพาะธุรกิจของธุรกิจ SMEs ผ่าน 16 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ด้วยการนำงานวิจัยมาต่อยอดเพื่อให้เกิดนวัตกรรมและสามารถลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต รวมถึงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ต้องการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามีผู้ที่เข้าร่วมใช้บริการมากกว่าหมื่นราย มีการสร้างผู้ประกอบการใหม่แล้วมากกว่า  500 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแล้วมากกว่าหนึ่งพันล้านบาท สำหรับผู้ที่สนใจอยากได้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือความช่วยเหลือด้านต่างๆ สามารถติดต่อได้ที่ https://www.facebook.com/spamost/ หรือ โทร 02-333-3942”

คุณพัชรินทร จำรัส ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาส้มไร้ก้างแม่ทองปอน เปิดเผยว่า ช่วงแรกของการผลิต เกิดจากการรวมตัวกันของคนในชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มสตรีสหกรณ์ผู้ผลิตปลาส้มบ้านสันเวียงใหม่ โดยผลิตปลาส้มในรูปแบบของการสืบทอดภูมิปัญญาแบบรุ่นสู่รุ่น ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากจนเป็นที่ต้องการของตลาดทำให้ต้องเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น จึงมีความต้องการที่จะใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต ด้วยเหตุนี้จึงได้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กับอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และขยายธุรกิจควบคู่กับการขยายตลาดในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาส้มไร้ก้างแม่ทองปอน จนปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและช่วยยกระดับธุรกิจชุมชน

ทั้งนี้อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ให้การช่วยเหลือในการพัฒนาศักยภาพทางด้านธุรกิจ และให้คำปรึกษาเรื่องของการพัฒนาธุรกิจ ทั้งทางด้านกฎหมาย การตลาด การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา การสร้างแบรนด์ การวางแผนธุรกิจของสถานประกอบการ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของกิจการเพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มรายได้ ส่งผลให้เกิดการสร้างงานเพิ่มขึ้นจากการขยายการผลิต สร้างอาชีพในชุมชน รวมถึงมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการส่งวัตถุดิบในการผลิตต่างๆ เช่น ปลา ข้าว กระเทียม เป็นต้น ส่งผลให้มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 4.2 ล้านบาทและต่างประเทศ 1 แสนบาท ต่อปี

ด้านนายอนุสรณ์ ขวัญคงบุญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคโค่ อะกรีคัลเจอร์ จำกัด หนึ่งในผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากอุทยานวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นของบริษัทเกิดจากความคิดที่ต้องการนำขุยมะพร้าว ซึ่งเป็นทรัพยากรเหลือทิ้งที่มีอยู่ในท้องถิ่นในประเทศ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม  โดยคิดค้นวิจัยในการพัฒนาเป็นสินค้าใหม่โดยใช้ความรู้และการสนับสนุนในด้านต่างๆ ของ อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ  ศูนย์ความร่วมมืออุตสาหกรรม  ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา และบุคลากรของคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกันคิดค้นวิจัย จนได้มาซึ่งวัสดุปลูกและวัสดุเพาะกล้า “โคโค่ พีท พลัส” ที่มีศักยภาพ และคุณภาพเทียบเท่าพีทมอส ที่สามารถขายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย

Post a comment

fourteen − 1 =