Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

อพท. “คิดถึงชุมชน” ผนึกเครือข่ายฟื้นท่องเที่ยวชุมชนจากโควิด-19

อพท. เปิดตัวโครงการ #คิดถึงชุมชน ผนึกพันธมิตรตลอดห่วงโซ่ซัพพลายเชนช่วยเหลือชุมชนท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยว หลังพ้นโควิด-19  นำเสนอชุมชนท่องเที่ยวในช่องทางการขายผ่านบริษัทนำเที่ยวภายใต้สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 8 สมาคมท่องเที่ยว ทั้ง ททท. สสปน. และเคทีซี ร่วมสนับสนุนช่องทางการตลาดเป้าหมายกลุ่มลูกค้าคุณภาพ คาดเงินสะพัดกว่า 50 ล้านบาท เผยเป็นโครงการนำร่องของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้ระบบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ อพท. ได้รับมอบนโยบายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้หน่วยงานในความรับผิดชอบ เร่งพัฒนาโครงการที่จะเข้ามาเยียวยาให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้งบประมาณประจำปีที่ได้รับจัดสรร  อพท. จึงได้เปิดตัวโครงการ #คิดถึงชุมชน เพื่อช่วยเหลือชุมชนท่องเที่ยวผ่านการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว

โครงการ #คิดถึงชุมชน แบ่งเป็น ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะสั้น เริ่มจากสร้างการรับรู้ให้กับดีมานด์ (Demand) ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยการนำเสนอและจำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์บนแพลตฟอร์ม SMART DASTA  ควบคู่ไปกับการสร้างเรื่องราวให้ผู้คนที่เข้ามาเลือกซื้อสินค้าได้รู้จักชุมชนเจ้าของสินค้าไปพร้อมๆกัน เมื่อสถานการณ์กลับสู่ปกติจะเกิดการเดินทางไปเยี่ยมชมสัมผัสเสน่ห์ เรื่องราว และอัตลักษณ์ของชุมชน

ระยะกลาง (Post Covid-19) เมื่อการระบาดของเชื้อโควิด-19 คลี่คลายลง ผู้คนเริ่มวางแผนเดินทางท่องเที่ยว อพท. จะสร้างการรับรู้ในความเชื่อมั่นในมาตรฐานชุมชนท่องเที่ยวที่ได้ผ่านการพัฒนาจาก อพท. ควบคู่ไปกับการกระตุ้นการซื้อผ่านบริษัทนำเที่ยวด้วยการนำเสนอขายโปรแกรมท่องเที่ยวที่ผนวกสินค้าและกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้าไป โดยความร่วมมือส่งเสริมการตลาดร่วมกับสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ 8 สมาคมการท่องเที่ยวที่เป็นภาคีเครือข่าย และภาคธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ขณะที่ระยะยาว  อพท. จะเก็บข้อมูลจากการทำการตลาดและการเดินทางท่องเที่ยวจริงของนักท่องเที่ยวมาพัฒนาต่อยอด คู่ไปกับการสานต่อความสัมพันธ์กับพันธมิตร เพื่อร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เป็นที่ต้องการของตลาดคุณภาพในระยะยาวต่อไป เพื่อเป็นการต่อยอดกระแส #คิดถึงชุมชน ให้เกิดการเดินทางมาเที่ยวซ้ำ และจับจ่ายสินค้าของที่ระลึกจากชุมชน

การดำเนินโครงการ #คิดถึงชุมชน ในครั้งนี้ อพท. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานด้านตลาดการท่องเที่ยวร่วมสนับสนุนโครงการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมต่อยอดนำเสนอโปรแกรมนำเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวบนแพลตฟอร์มออนไลน์ Tourism Department Store และ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. ช่วยต่อยอดสนับสนุนบริษัทนำเที่ยวที่นำนักท่องเที่ยวจัดประชุม สัมมนาและกิจกรรม CSR ในชุมชน ภายใต้โครงการประชุมเมืองไทยปลอดภัยกว่า นับเป็นการร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือชุมชนท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ชุมชนท่องเที่ยวได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง

สำหรับโครงการ #คิดถึงชุมชน เบื้องต้นจะมีชุมชนที่ผ่านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของ อพท. ซึ่งได้รับรางวัล DASTA AWARD 2019 จาก อพท. และมาตรฐาน SHA มีศักยภาพพร้อมขายเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 70 ชุมชน ครอบคลุมพื้นที่พิเศษและเขตพัฒนาการท่องเที่ยว โดยจะเริ่มเปิดให้บริษัทนำเที่ยวที่นำชุมชนท่องเที่ยวพร้อมขายดังกล่าวผนวกในโปรแกรมนำเที่ยวมาลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในเดือนมีนาคม 2564  เพื่อนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจต่อไป ถือเป็นโอกาสที่ อพท. ได้นำภารกิจองค์กรมาช่วยเหลือเยียวยาชุมชนท่องเที่ยวและภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด ก่อให้เกิดรายได้และการกระจายรายได้จากการซื้อแพกเกจท่องเที่ยวที่ผนวกกิจกรรมชุมชนท่องเที่ยวสู่ชุมชนท่องเที่ยว บริษัทนำเที่ยวและซัพพลายเชนตลอดห่วงโซ่อุปทานทางการท่องเที่ยวที่อยู่ในแพกเกจท่องเที่ยว คาดการณ์ว่าจะเกิดรายได้หมุนเวียนในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยตรงไม่น้อยกว่า 25 ล้านบาท และก่อให้เกิดการทวีคูณของรายได้จากการท่องเที่ยวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในพื้นที่เมื่อเทียบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าทวีคูณ 2.09 เท่า จึงเป็นเงินรายได้ที่จะเกิดขึ้นกว่า 50 ล้านบาท จึงนับเป็นโครงการที่บูรณาการการทำงานร่วมกันที่ทำให้เกิดระบบการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์นโยบายรัฐบาลให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ชุมชนมีความสุขอย่างยั่งยืนที่แท้จริง

Post a comment

10 − 1 =