Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam erat volutpat. Ut wisi enim

Subscribe to our newsletter

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit, sed diam nonummy nibh euismod tincidunt ut laoreet dolore magna aliquam
[contact-form-7 id="9582" html_class="default"]

อพท. คัด 8 ชุมชนสร้างสรรค์ ต้นแบบท่องเที่ยววิถีใหม่ หลังโควิด-19

อพท. ร่วมกับภาคีเครือข่ายกงทุนส่งเสริม ววน. สกสว.-บพข.-สอวช. เปิดผลการวิจัย คัดชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์  8 แห่ง พัฒนาเป็นต้นแบบการทำตลาด ท่องเทียววิถีใหม่ New Normal เตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ หลังสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย 

นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า อพท.ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบาย การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) คณาจารย์นักวิจัย และผู้นำชุมชน ที่อยู่ใน 4 ภูมิภาคของไทย ประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคอีสาน เปิดผลงานวิจัยโครงการการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ เพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายหลังภาวะวิกฤต และกิจกรรมการจับคู่พันธมิตรชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative CBT Business Matching) ที่จะนำไปสู่ช่องทางการตลาดให้กับชุมชนใน 4 ภาค ให้มีความพร้อมที่จะรองรับการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่ ( New Normal ) ภายหลังจากสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลาย และสามารถดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจกลับมาได้อีกครั้ง ภายใต้แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่มีมาตรฐานพร้อมให้บริการรองรับตลาดคุณภาพด้านการท่องเที่ยว

ยกระดับ 8 ชุมชน สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ

ทั้งนี้ในโครงการดังกล่าว อพท. ได้ส่ง 8 ชุมชนนำร่อง ที่พร้อมเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์  ประกอบด้วย ภาคเหนือ  ชุมชนท่องเที่ยวสันลมจอย จังหวัดเชียงใหม่  ชุมชนท่องเที่ยวในเวียง-บ้านหนองเต่า จังหวัดน่าน    ภาคใต้  ชุมชนท่องเที่ยวเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ชุมชนท่องเที่ยวจุฬาภรณ์ 12 จังหวัดนราธิวาส ภาคกลาง  ชุมชนท่องเที่ยวเมืองโบราณทวารวดี-อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี  ชุมชนท่องเที่ยวบางเจ้าฉ่า จังหวัดอ่างทอง  ภาคอีสาน ชุมชนท่องเที่ยวสุขสมบูรณ์ จังหวัดนครราชสีมา และชุมชนท่องเที่ยวสนวนนอก จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งผลวิจัยพบว่า ทั้ง 8 ชุมชนดังกล่าว มีความพร้อมและเหมาะกับนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ได้แก่ กลุ่มครอบครัว กลุ่มคนทำงาน กลุ่มจัดประชุมสัมมนา กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มทัศนศึกษา โดยมีหลายชุมชนที่ยังเหมาะกับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น ชุมชนท่องเที่ยวจุฬาภรณ์ 12 จังหวัดนราธิวาส เหมาะที่จะนำเสนอขายให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ที่เป็นกลุ่มมุสลิม ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต  หมู่บ้านท่องเที่ยวไหมสนวนนอก  จังหวัดบุรีรัมย์

โดย อพท. ได้นำองค์ความรู้ที่มี ใช้เป็นเครืองมือของการยกระดับให้แก่ชุมชน ได้แก่ ด้านใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและเว้นระยะห่าง (Social Distancing)  การพัฒนาเรื่องเล่าให้สามารถร้อยเรียงให้ได้อรรถรสมากขึ้น โดยใช้เทคนิค Apply Theater ที่เป็นเครื่องมือการพัฒนา Story telling ที่ อพท. พัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่และเพิ่มการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว (Active Engagement) ตลอดจนการคำนวณบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย  ที่จะนำไปสู่การกำหนดราคาขายที่เหมาะสม  การบริหารคน การแบ่งปันผลประโยชน์ที่โปร่งใส และเป็นธรรม ในการนำมาสู่การนำเสนอขายกิจกรรมของชุมชน เพื่อทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ และมีความยั่งยืน  เพื่อให้แต่ละชุมชนเข้าใจวิธีการบริการจัดการการท่องเที่ยว  ถือเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับกับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ

ทำ Business Matching รับนักท่องเที่ยวคุณภาพ

จากผลการวิจัย บพข. ได้ขยายผล ด้วยการจัดกิจกรรม Business Matching โดยคัดเลือกชุมชนที่ผ่านการยกระดับจากโครงการวิจัยในครั้งนี้ ได้พบปะกับผู้ประกอบการนำเที่ยว ถือเป็นกิจกรรมเชื่อมโยงชุมชนเข้ากับการตลาด เพื่อกระจายนักท่องเที่ยวที่เหมาะสมลงไปยังพื้นที่เป้าหมายได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้จุดขายของแต่ละชุมชนเป็นเครื่องมือการตลาด ที่สามารถบริหารจัดการด้านมาตรฐานความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับชุมชน สร้างภาคีเครื่องข่ายด้านการตลาดได้อย่างชัดเจน   นำมาสู่สร้างการสร้างงาน สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนและผู้ประกอบการในท้องถิ่นจากการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ตามงานวิจัยครั้งนี้ ได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีคุณภาพตอบโจทย์นักท่องเที่ยวคุณภาพ โดยมีชุมชนนำร่องต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้ให้ชุมชนท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้เพื่อยกระดับการพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้นแบบของการทำงานร่วมระหว่างหน่วยงานพัฒนาและภาคการศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นเครื่องมือ อพท. ก็จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการวิจัยไปยกระดับต่อยอดขยายผลชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบของ อพท. ในพื้นที่พิเศษและพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวต่อไป

Post a comment

13 + eighteen =